Bond Blogs Posted by:ThaiBMA Posted on: Mar 21, 2015 Share this post with Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond ความเหมือนที่แตกต่าง เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีแผนเมกะโปรเจ็กต์เพื่อพัฒนาโครงสร้างคมนาคมพื้นฐานภายใต้ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 8 ปี (2558-2565)” ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยการใช้จ่ายจำนวนมากนี้ย่อมมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว แผนดังกล่าวคาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 3 ล้านล้านบาท แหล่งเงินทุนจะมาจาก 5 แหล่ง คือ งบประมาณภาครัฐ การกู้เงินผ่านพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ รายได้จากรัฐวิสาหกิจ การร่วมทุนภาคเอกชนแบบ PPP และการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ซึ่งในส่วนของกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ นักลงทุนเริ่มได้รู้จักมาแล้วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เช่น BTSGIF, DIF (TRUEIF เดิม), JASIF, EGATIF เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ซับซ้อน คล้ายกับกองทุนรวมทั่วไป อย่างไรก็ตาม นอกจากการระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ภาครัฐยังสามารถที่จะระดมทุนในรูปแบบของหุ้นกู้โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Bond) แทนได้เช่นกัน เนื่องจากการระดมทุนทั้งสองวิธีนี้มีฐานความคิดการระดมทุนที่ใช้หลักการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) เหมือนกัน เพียงแต่หุ้นกู้โครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ในรูปแบบของตราสารหนี้ ส่วนกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ในรูปแบบของตราสารทุน กระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เริ่มต้นโดยผู้ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน (Originator) จัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางในการระดมทุนโดยการแปลงสินทรัพย์ ที่เป็นกระแสรายรับในอนาคต เช่น สัญญาเช่า สัญญาสัมปทาน เป็นต้น ให้เป็นหลักทรัพย์ พร้อมทั้งโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับ SPV เพื่อบริหารจัดการต่อไป โดย SPV ก็จะนำสินทรัพย์ที่ได้รับโอนมา ใช้ในการค้ำประกันตราสารหนี้หรือตราสารทุนที่ออกขายให้กับนักลงทุน (Asset Backed Securities: ABS) ได้เงินทุนไปให้แก่เจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานใช้ในการลงทุนขยายโครงการต่อไป จากที่กล่าวมานี้ การระดมทุนแบบ Securitization โดยการนำสินทรัพย์ที่เป็นกระแสรายได้ในอนาคตมาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินทุนในปัจจุบัน จึงช่วยให้บริษัทที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานมีเงินลงทุนเพื่อขยายโครงการต่อไป โดยไม่กระทบต่อสัดส่วนหนี้สินของบริษัท เพราะการระดมทุนผ่าน SPV จะไม่นับจำนวนเงินกู้ดังกล่าวรวมเข้าไปในส่วนของหนี้สินบริษัท นั่นหมายความว่า เมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลที่ระดมทุนในรูปแบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นแบบกองทุนหรือหุ้นกู้จะไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะ สอดคล้องกับเป้าหมายของ คสช. ที่ต้องการให้หนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับไม่เกิน 50% ดังนั้น Infrastructure Fund และ Infrastructure Bond จึงเป็นเครื่องมือระดมทุนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในความเหมือนมีความต่าง Infrastructure Fund ต่างจาก Infrastructure Bond อย่างน้อย 2 ประการ คือ เรื่องของผลตอบแทน Infrastructure Fund มีผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลซึ่งขึ้นกับผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุน โดยเงินปันผลจะได้รับการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax on dividend) ที่ 10% เป็นระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ขณะที่ Infrastructure Bond มีผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย เหมือนหุ้นกู้ทั่วไปที่ไม่ขึ้นกับผลการดำเนินงาน แต่ดอกเบี้ยที่จ่ายจะถูกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax on interest) ที่ 15% นั่นแปลว่า การลงทุนใน Infrastructure Bond มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำกว่าได้ ความแตกต่างประการที่สอง คือ เรื่องของความสามารถในการเรียกร้องกรณีผิดนัดชำระหนี้ การลงทุนใน Infrastructure Bond นักลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ มีสิทธิเรียกร้องต่อสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ SPV ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นและก่อนเจ้าของ ในขณะที่การลงทุนใน Infrastructure Fund เปรียบได้กับการถือหุ้นสามัญที่เจ้าของมีสิทธิเรียกร้องต่อสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ SPV หลังจากเจ้าหนี้ ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ จากหนังสือชี้ชวนเพื่อให้มั่นใจว่าตนเองเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนนั้น ๆ ได้ แม้ว่าปัจจุบันเราจะเห็น Infrastructure Fund ในหลาย ๆ โครงการแล้ว แต่สำหรับ Infrastructure Bond ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับ Issuer เพราะต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำ และนักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนอีกด้วย เขียนโดย ปิยะศักดิ์ ดวงบัณฑิตกุล ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย piyasak@thaibma.or.th, 02-252-3336 Ext.113 All Blogs 2024 ตราสารหนี้เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง (Tiger ecosystem bond) 30 ปี ThaiBMA เส้นทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย CAT Bond ตราสารหนี้ภัยพิบัติ แนวโน้มหุ้นกู้ครบกำหนดอายุ Highlight ตลาดตราสารหนี้ไทยปี 2023 2023 สาระสำคัญจากงานสัมมนา “Enable ESG Bond Issuance: Global Dynamic & Thailand Framework Development” การถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ Facts: หุ้นกู้ครบกำหนดในปีหน้า (2024) Par Value คืออะไร พัฒนาการของตลาด ESG Bonds ของไทยเปรียบเทียบกับยุโรป 5 ปีผ่านไป ตลาดหุ้นกู้เปลี่ยนไปขนาดไหน ถ้าผู้ออกหุ้นกู้ถูกฟ้องล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้ต้องทำอย่างไร ลงทุนในหุ้นกู้ต้องรู้จักอันดับเครดิต Highlight Q2 2023 "ESG bonds ในอาเซียน+3 ข้อดี-ข้อเสีย ของการลงทุนในตราสารหนี้...มีอะไรบ้าง 5 สิ่งควรรู้ก่อนลงทุนตราสารหนี้ การออก ESG Bond ของไทย Transition bond ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน IC Bond ตราสารหนี้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัย สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield curve) Basis Points คืออะไร - ต่างจากเปอร์เซ็นต์อย่างไร? ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม อยากรู้ว่าหุ้นกู้มีการซื้อขายบ้างไหม ราคาซื้อขายเป็นยังไง จะดูได้ที่ไหน 2022 เช็กราคาซื้อขายล่าสุด หรือราคา mark to market ของหุ้นกู้ได้ที่ไหน การซื้อขายหุ้นกู้ในตลาดรอง คำนวณราคายังไง ทำไมหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงถึงให้ผลตอบแทนสูง ต่างจากหุ้นกู้ปกติอย่างไร สัญลักษณ์ตราสารหนี้...อ่านอย่างไรและบอกอะไรบ้าง Breakeven Inflation คืออะไร? และ บอกอะไร? BOND INFO แหล่งรวมข้อมูลตราสารหนี้ไทย ตอน รู้จักหุ้นกู้กับเมนู “Issuer Search” รู้จัก Basel III Bond หุ้นกู้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ Baht bond คืออะไร ต่างจากหุ้นกู้ปกติไหม? ทางเลือกการลงทุนในยุคเงินเฟ้อสูง...พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) ตราสารหนี้ผลตอบแทนติดลบกำลังจะ “สูญพันธุ์” หุ้นกู้ที่เสนอขาย HNW จะขายต่อในตลาดรองให้นักลงทุนบุคคลทั่วไปได้ไหม? Prize Bond ตราสารหนี้ลุ้นรับโชค อัพเดต! นิยามใหม่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth)” มีผลบังคับใช้ 1 ต.ค. 2565 นี้ รัฐบาลอินเดียเตรียมออกพันธบัตรสีเขียวครั้งแรกเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รัฐบาลแคนาดาร่วมขบวนรักษ์โลก...ออกพันธบัตรสีเขียวครั้งแรก Blue bond...ตราสารหนี้สีฟ้า..รักษ์ทะเล ESG bonds ของไทยใช้เงินหลากหลายและน่าสนใจแค่ไหน? Highlight 2021 "ESG bonds ในอาเซียน+3" 2021 ADB ออก Blue Bond ครั้งแรก...มุ่งสู่สังคมและเศรษฐกิจสีฟ้าอย่างยั่งยืน สรุปภาวะตลาด ESG bond ในอาเซียน+3 Carbon Neutral Bond ตราสารหนี้สีเขียวประเภทใหม่ของจีน แนวโน้มการออก ESG bond ของไทย...กับการก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน Perpetual Bond กับลักษณะเฉพาะที่ผู้ออกต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง โคลอมเบียออก green bond ขายนักลงทุนในประเทศเป็นครั้งแรก สเปนเตรียมออก Green bond เป็นครั้งแรก Sustainability-Linked Bond รุ่นแรกของไทยมาแล้ว ลงทุนในหุ้นกู้ต้องดูเงื่อนไข Covenant Big Tech พาเหรดออก ESG bond ส่องหุ้นกู้ออกใหม่ครึ่งปีหลัง 2021 FACTS ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนใน ASEAN+3 5 อันดับรัฐวิสาหกิจที่ออกตราสารหนี้สูงสุด (โดยคลังไม่ต้องค้ำ) รัฐบาลแคนาดา เตรียมเสนอขายพันธบัตรสีเขียวเป็นครั้งแรก รู้ไหม ใครถือพันธบัตรรัฐบาลไทยบ้าง ความแตกต่างของ Green, Social และ Sustainability bond รู้จักศัพท์ Bond ที่เกี่ยวกับสัตว์ ยอดการออก ESG bond ในเอเชีย-แปซิฟิก 5 เดือนแรกปีนี้ โตขึ้น 49.5% Amazon.com ไม่ตกขบวนรักษ์โลก ออก Sustainability bond ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนในมาเลเซีย ตราสารหนี้ (อนุ) รักษ์แรด ความเหมือนที่แตกต่างระหว่างอันดับเครดิตของบริษัท และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ ปี 2564 อังกฤษนับหนึ่งพันธบัตรสีเขียว เครื่องมือรักษ์โลกล่าสุด...ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond: SLB) 2020 เมื่อสายแฟ (ชั่น) แคร์โลก...Chanel และ Burberry ออก ESG bond หุ้นกู้สีเขียวอนุพันธ์...อีกรูปแบบหนึ่งในการรักษ์โลก Covid-19 Response Bonds: ตราสารหนี้สู้โควิด Bond ETF อีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนตราสารหนี้ มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 กับตราสารหนี้ (ตอนที่ 2) Pandemic Bond ภารกิจสู้โรค...กับบทเรียนที่ต้องเรียนรู้ เชื้อไวรัสโควิดลามจากคนสู่เศรษฐกิจโลก? มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 กับตราสารหนี้ (ตอนที่ 1) ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืนในประเทศไทย Green bond ในอาเซียน เมื่อจีนเป็นหวัด ทั่วโลกเลยต้องรับยา…ทางการเงิน ย้อนรอยพันธบัตรทองคำของไทย Sovereign Gold Bond พันธบัตรทองคำแห่งชาติ Gender bonds ตราสารหนี้เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพผู้หญิง ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ The Bodyguard ของนักลงทุน Prize Bond ตราสารหนี้สำหรับคนชอบเสี่ยงโชค 2019 สรุป 10 เหตุการณ์เด่นในตลาดตราสารหนี้ไทยปี 2562 พันธบัตรรัฐบาล Low risk but high return ในปี 2562 เหลียวหลังแลหน้า เงินลงทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทย ฉบับปี 2562 บาดาล The Series ตอนที่ 3/3: กำเนิดบาดาล บาดาล The Series ตอนที่ 2/3: ปูมหลัง บาดาล The Series ตอนที่ 1/3: ความสำเร็จก้าวแรก เขาวานให้(หนู)เป็น...สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เตรียมช้อป หุ้นกู้ ได้ทุกเดือนในปี 2563 ผลกระทบตลาดตราสารหนี้หลังการเก็บภาษีกองทุน High yield bond จีน:จากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในโลก สู่ผู้นำการออกตราสารหนี้สีเขียว Perpetual bond กับมาตรฐานบัญชีใหม่ 25 ปี ThaiBMA กับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้ฉบับแรกของราชอาณาจักรสยามเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายแรกๆของประเทศ 5 ปี ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้กว่าล้านล้าน!! Perpetual bond คึกคักส่งท้ายปี 62 ทวิตเตอร์ “@realDonaldTrump” กระเทือนไปทั้งโลก…การเงิน งานนี้ต้องติดตาม...สถานการณ์ผิดนัดชำระหุ้นกู้ในประเทศจีน เมื่อเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ แต่เงินบาทยังแข็งค่า รู้ยัง! Starbucks ก็ออก Sustainability Bond นะ Dual Currency Bond ตราสารหนี้สองสกุล หุ้นกู้ไม่มีเรทติ้งแต่มีประกัน ปลอดภัยจริงไหม!! Bond Yield ติดลบกินวงกว้างแค่ไหน Bond yield ไทยจะต่ำไปไหน CAT bond: ตราสารหนี้รับมือเหตุภัยพิบัติ เรทติ้ง (Rating) มาจากไหนและบอกอะไรแก่นักลงทุน มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท.และผลต่อตลาดตราสารหนี้ไทย จับตา!!! สถานการณ์การผิดนัดชำระหุ้นกู้ประเทศสิงคโปร์ เข้าใจหุ้นกู้ใน 5 นาทีกับ Fact sheet เมื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ เปลี่ยนทิศ แล้วดอกเบี้ยไทยจะอย่างไร? การปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรของธปท.และผลต่อตลาดบอนด์ ครบรอบ 22 ปี วิกฤติต้มยำกุ้ง กับการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย โอกาสของผู้ระดมทุนในตลาดหุ้นกู้ไทย Callable bonds ของไทย คุ้มค่าน่าลงทุน? Blue Bond ตราสารหนี้สีฟ้า เพื่อความยั่งยืนของทะเล 2-10 Spread สัญญาณคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ 1 ปีแห่งการปรับตัวของผู้ออกตั๋ว BE ภาษีกองทุนรวมตราสารหนี้: นักลงทุนจะไปต่อกันทางไหน? Payment-In-Kind Bond เมื่อดอกเบี้ยจ่ายเป็นหมูแฮม ทำไมอยากซื้อ แต่ไม่ได้ซื้อ? Bond Switchingเมื่อถึงเวลาก็ต้อง(แลก)เปลี่ยน STO อีกหนึ่งทางเลือกในการระดมทุนด้วยเทคโนโลยี Blockchain Structured note ผลตอบแทนที่มาพร้อมความผันผวน Composite Bond Index ดัชนีสะท้อนผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ไทย ลูกหนี้รายใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย ภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ผลกระทบต่อนักลงทุน Bond Yield ของไทยจะติดเชื้อ Inverted Yield Curve จากสหรัฐฯไหม การค้ำประกันจาก CGIF ช่วยผู้ออกลดคูปองดอกเบี้ยให้ต่ำลง ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 2) ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 1) Puttable Bond ตราสารหนี้ที่ให้สิทธินักลงทุนในการไถ่ถอนก่อนครบกำหนดอายุ Bond Yield สหรัฐฯกับไทย...ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป 10 year challenge ของตลาดตราสารหนี้ Sustainability bond หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม Social Bond พันธบัตรเพื่อสังคมที่เป็นสุข สรุป 10 เหตุการณ์สำคัญของตลาดตราสารหนี้ไทยในรอบปี 2561 D/E Ratio บอกอะไรบ้าง 2018 เตรียมช้อปหุ้นกู้ออกใหม่ปีหน้า..มีอะไรน่าสนใจ เหลียวหลังแลหน้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ ฉบับปี 2561 จับตาหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น BAHT Bond ทางเลือกการระดมทุนในอาเซียน จับตาหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ของจีน ตลาดตราสารหนี้ไทยเป็น safe haven จริงหรือ Solar Bond ตราสารหนี้พลังงานแสงอาทิตย์ ผลตอบแทนของ Green bond ต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปหรือไม่ ตราสารหนี้สีเขียวกับการเติบโตอย่างยั่งยืน การออกหุ้นกู้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ Asian Bonds Online มีดีมากกว่า Fund flow ในตลาดตราสารหนี้ Perpetual bond หุ้นกู้ไม่มีอายุ ใครลงทุนในหุ้นกู้บ้าง ซื้อหุ้นกู้แบบมี Call option นักลงทุนจะได้หรือจะเสียอะไร การวัด Expected return ของตราสารหนี้ ฝากเงินไว้กับธนาคาร หรือลงทุนผ่านตราสารหนี้ดีนะ? หุ้นกู้ Securitization ทางเลือกเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน ILB ทางเลือกของการลงทุนในภาวะเงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้น ซื้อกองทุนตราสารหนี้ แต่ทำไมถึงขาดทุนได้? มารู้จักTransition Matrix โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ ลงทุนอย่างอุ่นใจ ด้วยหุ้นกู้มีประกัน ถ้าอยากซื้อหุ้นกู้เชิญอ่านทางนี้ วางแผนเกษียณสุขใจไปกับตราสารหนี้ การเปลี่ยนแปลงของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนจากเกณฑ์ใหม่ กลต. ระหว่างสลากออมสิน กับตราสารหนี้ออมอย่างไรให้เหมาะกับเรา รู้จักกับ AMRO องค์กรความร่วมมือเพื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอาเซียน+3 ความจริง 5 ข้อของตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนควรทราบ สัญลักษณ์ตราสารหนี้บอกอะไรมากกว่าที่คิด Credit rating ไม่สูงก็ออกตราสารหนี้ Coupon ต่ำได้ ด้วยการค้ำประกันจาก CGIF Bond Yield สหรัฐฯ สูงขึ้น ดึง Bond Yield ไทยสูงขึ้น ด้วยไหม? Basel III Bond ตราสารหนี้ที่เพิ่มความมั่นคงให้แก่ธนาคาร ติดตามราคาพันธบัตรรัฐบาล ณ วันปัจจุบันได้จากที่ไหนนะ? ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ สูงหรือต่ำมีความหมายมากกว่าที่คาด แนวโน้มของเทคโนโลยี Blockchain ในตลาดตราสารหนี้ จะสูงหรือต่ำสำคัญอย่างไร Credit spread ผู้ช่วยของ Yield curve ทิศทางของตลาดตราสารหนี้ไทย Yield Curve พระเอกของการลงทุนในตราสารหนี้ Fund flow ในตลาดตราสารหนี้ จับตาการลงทุนของต่างชาติในตลาดบอนด์ Perpetual Bond พิเศษยังไง ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงจัง ตราสารหนี้บางรุ่นเลื่อนชำระดอกเบี้ยได้นะจ๊ะ มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ หาได้จากไหน? 2017 ปลายปีอย่างนี้ เป็นจังหวะดีของการลงทุนในตราสารหนี้ไหมนะ ความเข้าใจผิดที่อันตราย “ตราสารหนี้เสี่ยงกว่าหุ้น” Financial Literacy ของไทย อันดับเครดิตต่ำหรือสูง แล้วยังไง มีเงิน 5,000 บาท ลงทุนหุ้นกู้ได้ไหมนะ? หุ้นกู้แปลงสภาพ เจ้าหนี้ที่กลายร่างเป็นเจ้าของได้ (ตอนที่ 2) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)คือใคร ทำอะไรกัน? อะไรคือหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) (ตอนที่ 1) เลือกตราสารหนี้ให้เหมือนเลือกแฟน “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 2) แม้ดอกเบี้ยจะขาขึ้น ก็ไม่หวั่นลงทุนตราสารหนี้ “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 1) Cross Default ในตราสารหนี้ "หุ้นกู้มีประกัน" เครื่องหมายรับประกันเงินต้นหาย? รู้หรือไม่ พันธบัตรไทยฉบับแรกออกมาเมื่อใด เม็ดเงินต่างชาติในตราสารหนี้ทำบาทแข็งจริงหรือ? กองทุน AI ความเสี่ยงหลัก 5 ข้อในการลงทุนตราสารหนี้ หุ้นกู้ High Yield ลงทุนอย่างไรให้ปลอดภัย แฝดคนละฝา Default กับ NPL 5 เหตุผลหลักของการลงทุนในตราสารหนี้ 20 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง พลิกสู่การเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 2) Callable คุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ Bond จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 1) ตราสารหนี้ฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อไร? Yield Curve ตัวช่วยการลงทุนตราสารหนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยผันเปลี่ยน มูลค่าของตราสารหนี้ก็ผันแปร Coupon&Yield คู่ซี้ที่แตกต่าง หุ้นกู้ vs. หุ้น สนใจลงทุนตราสารหนี้ ต้องทำอย่างไร ลำดับการชำระหนี้คืน อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) Ultra High Net Worth กลุ่มนักลงทุนใหม่ ขาใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) สิทธิแฝงของตราสารหนี้ (Embedded Option) ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชน ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB) ตอนนี้น่าลงทุนไหม? Intro to Bond 2016 พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ....เงินต้นไม่หาย แถมงอกเงยไม่น้อยหน้าเงินเฟ้อ ความอ่อนไหวของเงินทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทย ทำความรู้จักกับหลักเกณฑ์ Basel III และผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยเติบโตรับกระแสเงินทุนไหลเข้าในครึ่งปีแรก 2559 การลงทุนตราสารหนี้ แม้จะปลอดภัย ถ้าไม่เข้าใจ...ก็ขาดทุนได้ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้...ทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย (ความผันผวนต่ำ) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ รู้จักกับ Perpetual Bond 2015 ตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชน ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond เงินทุนต่างชาติไหลกลับสู่ตลาดตราสารหนี้ไทย นิยาม “ตราสารหนี้” แบบเข้าใจง่าย "หุ้น" กับ "หุ้นกู้" แฝดคนละฝา ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (1) ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (2) คลังบทความ
Posted by:ThaiBMA Posted on: Mar 21, 2015 Share this post with Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond ความเหมือนที่แตกต่าง เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีแผนเมกะโปรเจ็กต์เพื่อพัฒนาโครงสร้างคมนาคมพื้นฐานภายใต้ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 8 ปี (2558-2565)” ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยการใช้จ่ายจำนวนมากนี้ย่อมมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว แผนดังกล่าวคาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 3 ล้านล้านบาท แหล่งเงินทุนจะมาจาก 5 แหล่ง คือ งบประมาณภาครัฐ การกู้เงินผ่านพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ รายได้จากรัฐวิสาหกิจ การร่วมทุนภาคเอกชนแบบ PPP และการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ซึ่งในส่วนของกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ นักลงทุนเริ่มได้รู้จักมาแล้วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เช่น BTSGIF, DIF (TRUEIF เดิม), JASIF, EGATIF เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ซับซ้อน คล้ายกับกองทุนรวมทั่วไป อย่างไรก็ตาม นอกจากการระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ภาครัฐยังสามารถที่จะระดมทุนในรูปแบบของหุ้นกู้โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Bond) แทนได้เช่นกัน เนื่องจากการระดมทุนทั้งสองวิธีนี้มีฐานความคิดการระดมทุนที่ใช้หลักการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) เหมือนกัน เพียงแต่หุ้นกู้โครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ในรูปแบบของตราสารหนี้ ส่วนกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจะอยู่ในรูปแบบของตราสารทุน กระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เริ่มต้นโดยผู้ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน (Originator) จัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางในการระดมทุนโดยการแปลงสินทรัพย์ ที่เป็นกระแสรายรับในอนาคต เช่น สัญญาเช่า สัญญาสัมปทาน เป็นต้น ให้เป็นหลักทรัพย์ พร้อมทั้งโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับ SPV เพื่อบริหารจัดการต่อไป โดย SPV ก็จะนำสินทรัพย์ที่ได้รับโอนมา ใช้ในการค้ำประกันตราสารหนี้หรือตราสารทุนที่ออกขายให้กับนักลงทุน (Asset Backed Securities: ABS) ได้เงินทุนไปให้แก่เจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานใช้ในการลงทุนขยายโครงการต่อไป จากที่กล่าวมานี้ การระดมทุนแบบ Securitization โดยการนำสินทรัพย์ที่เป็นกระแสรายได้ในอนาคตมาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินทุนในปัจจุบัน จึงช่วยให้บริษัทที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานมีเงินลงทุนเพื่อขยายโครงการต่อไป โดยไม่กระทบต่อสัดส่วนหนี้สินของบริษัท เพราะการระดมทุนผ่าน SPV จะไม่นับจำนวนเงินกู้ดังกล่าวรวมเข้าไปในส่วนของหนี้สินบริษัท นั่นหมายความว่า เมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลที่ระดมทุนในรูปแบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นแบบกองทุนหรือหุ้นกู้จะไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะ สอดคล้องกับเป้าหมายของ คสช. ที่ต้องการให้หนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับไม่เกิน 50% ดังนั้น Infrastructure Fund และ Infrastructure Bond จึงเป็นเครื่องมือระดมทุนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในความเหมือนมีความต่าง Infrastructure Fund ต่างจาก Infrastructure Bond อย่างน้อย 2 ประการ คือ เรื่องของผลตอบแทน Infrastructure Fund มีผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลซึ่งขึ้นกับผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุน โดยเงินปันผลจะได้รับการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax on dividend) ที่ 10% เป็นระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ขณะที่ Infrastructure Bond มีผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย เหมือนหุ้นกู้ทั่วไปที่ไม่ขึ้นกับผลการดำเนินงาน แต่ดอกเบี้ยที่จ่ายจะถูกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax on interest) ที่ 15% นั่นแปลว่า การลงทุนใน Infrastructure Bond มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำกว่าได้ ความแตกต่างประการที่สอง คือ เรื่องของความสามารถในการเรียกร้องกรณีผิดนัดชำระหนี้ การลงทุนใน Infrastructure Bond นักลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ มีสิทธิเรียกร้องต่อสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ SPV ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นและก่อนเจ้าของ ในขณะที่การลงทุนใน Infrastructure Fund เปรียบได้กับการถือหุ้นสามัญที่เจ้าของมีสิทธิเรียกร้องต่อสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ SPV หลังจากเจ้าหนี้ ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ จากหนังสือชี้ชวนเพื่อให้มั่นใจว่าตนเองเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนนั้น ๆ ได้ แม้ว่าปัจจุบันเราจะเห็น Infrastructure Fund ในหลาย ๆ โครงการแล้ว แต่สำหรับ Infrastructure Bond ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับ Issuer เพราะต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำ และนักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนอีกด้วย เขียนโดย ปิยะศักดิ์ ดวงบัณฑิตกุล ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย piyasak@thaibma.or.th, 02-252-3336 Ext.113