Individual Investors

  • Posted by:

    ThaiBMA
  • Posted on:

    May 09, 2019
Bond Switchingเมื่อถึงเวลาก็ต้อง(แลก)เปลี่ยน

ธุรกรรมอย่างหนึ่งที่เริ่มมีขึ้นในตลาดตราสารหนี้ไทยไม่นานมานี้ ก็คือการทำBond Switchingซึ่งแปลตรงตัวก็คือการนำพันธบัตรรุ่นหนึ่งไปแลกเป็นพันธบัตรอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไป พันธบัตรต้นทาง (Source bond) ที่นักลงทุนนำมาแลกมักเป็นรุ่นอายุสั้นๆที่ใกล้จะครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว ส่วนรุ่นปลายทาง(Destination Bond)ที่นักลงทุนจะได้จากการแลกเปลี่ยนจะมีอายุคงเหลือยาวกว่า ซึ่งผลจากการทำ BondSwitchingจะทำให้นักลงทุนได้พันธบัตรรุ่นใหม่ที่อายุยาวขึ้น และมักมีสภาพคล่องสูงเพราะส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรรุ่นอ้างอิง(On-the-runBenchmark Bond)เช่น 5 ปี 10ปี เป็นต้น

หลักเกณฑ์และรายละเอียดการทำ Bond Switching จะถูกกำหนดโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลและลดยอดหนี้คงค้างที่กำลังจะครบกำหนดอายุทำให้รัฐบาลสามารถลดความเสี่ยงในการหาเงินมาชำระคืนนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาดรวมถึงกระตุ้นการซื้อขายในตลาดรองส่วนนักลงทุนก็จะมีโอกาสในการนำพันธบัตรรัฐบาลรุ่นเดิมที่สภาพคล่องไม่สูงมาแลกเปลี่ยนกับรุ่นใหม่ที่มีสภาพคล่องสูงกว่ายืดอายุพันธบัตรที่ถือครองซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนใหม่(Reinvestment)

ธุรกรรม Bond Switchingในไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 โดย สบน. กำหนดSource Bond 1 รุ่นคือรุ่นอายุคงเหลือ6 เดือน(LB155A)สามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับDestination Bondได้ 4 รุ่นได้แก่รุ่นอายุคงเหลือ 2 ปี 8 เดือน, 4 ปี 3 เดือน, 7 ปี 2 เดือน และ 23 ปี 2 เดือน(LB176A LB191A LB21DA และ LBA37DAตามลำดับ)(Single-to-Multiple) วงเงินรวม76,235ล้านบาทและตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สบน. ก็มีการทำ Bond Switchingทุกๆ ปี ปีละ1-2 ครั้ง และในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมาก็ได้มีการทำ Bond switching ไปแล้ว 2ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เป็นการแลกเปลี่ยนแบบ Multiple-to-Multipleโดยรุ่นอายุคงเหลือของ Source Bond อยู่ในช่วง 2 เดือน - 3 ปี 2 เดือน ส่วน Destination Bond อยู่ในช่วง 4 ปี 8 เดือน - 48 ปี 2 เดือนและยืดอายุคงเหลือเฉลี่ยของSource Bondจาก2 ปี 1 เดือน เป็นอายุเฉลี่ย 23 ปี 8 เดือน

แม้Bond Switchingจะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริการจัดการหนี้ในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น แบ่งเบาภาระในการจัดหางบประมาณในการไถ่ถอนหนี้ภาครัฐได้ในช่วงเวลาหนึ่งรวมถึงช่วยสร้างสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ แต่บางครั้งปริมาณพันธบัตรที่มากขึ้นหรือลดลงจากการทำBond Switching ก็อาจมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในตลาดขณะนั้นได้ ดังนั้น นักลงทุนควรทำความรู้จักธุรกรรม Bond Switchingและความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน

All Blogs