Bond Blogs
Fact sheet หรือ “เอกสารสรุปข้อมูลสำคัญของตราสารหนี้” เป็นการสรุปประเด็นสำคัญที่นักลงทุนควรทราบในหนังสือชี้ชวนที่ยาวหลายร้อยหน้าเหลือเพียงไม่ถึง 3-4 หน้า Fact sheet จึงเป็นเหมือน ทางลัดให้นักลงทุนได้เข้าใจหุ้นกู้ที่จะลงทุนได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา และไม่พลาดสาระสำคัญก่อนการลงทุน
5 ประเด็นต่อไปนี้ถือว่าเป็น The Must ที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนการลงทุน
• ลักษณะการประกอบธุรกิจ /ปัจจัยความเสี่ยงเฉพาะของตราสารหนี้
นักลงทุนควรทราบลักษณะธุรกิจของผู้ออก แหล่งรายได้หลักของกิจการ และปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของหุ้นกู้ เช่น เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นที่ผู้ออกอาจเลื่อนจ่ายได้ ดังเช่นที่มีการกำหนดไว้ใน Perpetual bond หรือการที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกไถ่ถอนได้ก่อนกำหนดของ Callable bond
• การจัดอันดับเครดิต
การจัดอันดับเครดิตของบริษัท (Company rating) หรือ หุ้นกู้ (Issue rating) ที่จะสะท้อนถึงโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ หากหุ้นกู้ใดไม่มีการจัดอันดับเครดิต นักลงทุนควรต้องพิจารณาพื้นฐานบริษัท งบการเงินรวมถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะไม่ผิดนัดชำระหนี้
• หลักประกัน
หากเป็นหุ้นกู้มีหลักประกัน นักลงทุนต้องทราบว่าเป็นหลักประกันประเภทใด เช่น ที่ดิน อาคาร หรือหลักทรัพย์ รวมถึงมูลค่าของหลักประกันว่าคิดเป็นกี่เท่าของมูลค่าหุ้นกู้ เพื่อให้แน่ใจว่าหากเกิดเหตุผิดนัดชำระหนี้ หลักประกันจะมีมูลค่าเพียงพอในการชำระคืนหนี้หุ้นกู้ แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการบังคับขายหลักประกันนั้นใช้เวลาค่อนข้างนานและในกรณีที่ใช้หุ้นสามัญของบริษัทเองเป็นหลักประกัน นักลงทุนต้องพึงระวังให้มากเพราะในวันที่บริษัทผิดนัดชำระหนี้ราคาหุ้นของบริษัทอาจลดลงอย่างมากจนไม่เหลืออะไรเลย
• ข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้
เป็นการกำหนดสิทธิของผู้ถือ และหน้าที่ของผู้ออก เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถือตราสารหนี้ไม่ให้บริษัทกระทำการใดอันซึ่งจะส่งผลต่อการชำระหนี้ในอนาคต ตัวอย่างข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้ที่ผู้ออกต้องกระทำ เช่น
ห้ามผู้ออกหุ้นกู้จ่ายเงินปันผลหากไม่ชำระคืนเงินต้น ไม่จ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ หรือผิดนัดชำระหนี้อื่นๆ รวมถึงห้ามผู้ออกนำเงินไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสือชี้ชวน และกำหนดเงื่อนไขในการดำรงอัตราส่วนทางการเงิน เช่น การคุมอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DE Ratio) อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Interest coverage ratio) ไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด เป็นต้น
• สรุปฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน
ใน Fact sheet มีข้อมูลสรุปฐานะการเงินของผู้ออกหุ้นกู้ซึ่งนักลงทุนพึงใช้ในการพิจารณาก่อนลงทุน เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร (ขาดทุน) สะสมของกิจการ รวมถึงอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนสภาพคล่องและอย่าลืมดูประวัติการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทเพื่อประเมินความเสี่ยงในอนาคต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะแสดงในกรอบเล็กๆบน Fact sheet
เมื่อได้ศึกษาข้อมูลสำคัญของหุ้นกู้และตัดสินใจเลือกได้แล้ว ก็ติดต่อสถาบันการเงินใกล้บ้านหรือที่ท่านคุ้นเคยได้เลย โดยควรลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้และเข้ากับสไตล์การลงทุนของท่านเองนะครับ

All Blogs
- เตรียมช้อป หุ้นกู้ ได้ทุกเดือนในปี 2563
- ผลกระทบตลาดตราสารหนี้หลังการเก็บภาษีกองทุน
- High yield bond
- จีน:จากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในโลก สู่ผู้นำการออกตราสารหนี้สีเขียว
- Perpetual bond กับมาตรฐานบัญชีใหม่
- 25 ปี ThaiBMA กับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย
- ตราสารหนี้ฉบับแรกของราชอาณาจักรสยามเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายแรกๆของประเทศ
- 5 ปี ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้กว่าล้านล้าน!!
- Perpetual bond คึกคักส่งท้ายปี 62
- ทวิตเตอร์ “@realDonaldTrump” กระเทือนไปทั้งโลก…การเงิน
- งานนี้ต้องติดตาม...สถานการณ์ผิดนัดชำระหุ้นกู้ในประเทศจีน
- เมื่อเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ แต่เงินบาทยังแข็งค่า
- รู้ยัง! Starbucks ก็ออก Sustainability Bond นะ
- Dual Currency Bond ตราสารหนี้สองสกุล
- หุ้นกู้ไม่มีเรทติ้งแต่มีประกัน ปลอดภัยจริงไหม!!
- Bond Yield ติดลบกินวงกว้างแค่ไหน
- Bond yield ไทยจะต่ำไปไหน
- CAT bond: ตราสารหนี้รับมือเหตุภัยพิบัติ
- เรทติ้ง (Rating) มาจากไหนและบอกอะไรแก่นักลงทุน
- มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท.และผลต่อตลาดตราสารหนี้ไทย
- จับตา!!! สถานการณ์การผิดนัดชำระหุ้นกู้ประเทศสิงคโปร์
- เข้าใจหุ้นกู้ใน 5 นาทีกับ Fact sheet
- เมื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ เปลี่ยนทิศ แล้วดอกเบี้ยไทยจะอย่างไร?
- การปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรของธปท.และผลต่อตลาดบอนด์
- ครบรอบ 22 ปี วิกฤติต้มยำกุ้ง กับการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย
- โอกาสของผู้ระดมทุนในตลาดหุ้นกู้ไทย
- Callable bonds ของไทย คุ้มค่าน่าลงทุน?
- Blue Bond ตราสารหนี้สีฟ้า เพื่อความยั่งยืนของทะเล
- 2-10 Spread สัญญาณคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ
- 1 ปีแห่งการปรับตัวของผู้ออกตั๋ว BE
- ภาษีกองทุนรวมตราสารหนี้: นักลงทุนจะไปต่อกันทางไหน?
- Payment-In-Kind Bond เมื่อดอกเบี้ยจ่ายเป็นหมูแฮม
- ทำไมอยากซื้อ แต่ไม่ได้ซื้อ?
- Bond Switchingเมื่อถึงเวลาก็ต้อง(แลก)เปลี่ยน
- STO อีกหนึ่งทางเลือกในการระดมทุนด้วยเทคโนโลยี Blockchain
- Structured note ผลตอบแทนที่มาพร้อมความผันผวน
- Composite Bond Index ดัชนีสะท้อนผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ไทย
- ลูกหนี้รายใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย
- ภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ผลกระทบต่อนักลงทุน
- Bond Yield ของไทยจะติดเชื้อ Inverted Yield Curve จากสหรัฐฯไหม
- การค้ำประกันจาก CGIF ช่วยผู้ออกลดคูปองดอกเบี้ยให้ต่ำลง
- ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 2)
- ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 1)
- Puttable Bond ตราสารหนี้ที่ให้สิทธินักลงทุนในการไถ่ถอนก่อนครบกำหนดอายุ
- Bond Yield สหรัฐฯกับไทย...ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป
- 10 year challenge ของตลาดตราสารหนี้
- Sustainability bond หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม
- Social Bond พันธบัตรเพื่อสังคมที่เป็นสุข
- สรุป 10 เหตุการณ์สำคัญของตลาดตราสารหนี้ไทยในรอบปี 2561
- D/E Ratio บอกอะไรบ้าง
- เตรียมช้อปหุ้นกู้ออกใหม่ปีหน้า..มีอะไรน่าสนใจ
- เหลียวหลังแลหน้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ ฉบับปี 2561
- จับตาหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
- BAHT Bond ทางเลือกการระดมทุนในอาเซียน
- จับตาหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ของจีน
- ตลาดตราสารหนี้ไทยเป็น safe haven จริงหรือ
- Solar Bond ตราสารหนี้พลังงานแสงอาทิตย์
- ผลตอบแทนของ Green bond ต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปหรือไม่
- ตราสารหนี้สีเขียวกับการเติบโตอย่างยั่งยืน
- การออกหุ้นกู้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
- Asian Bonds Online มีดีมากกว่า Fund flow ในตลาดตราสารหนี้
- Perpetual bond หุ้นกู้ไม่มีอายุ
- ใครลงทุนในหุ้นกู้บ้าง
- ซื้อหุ้นกู้แบบมี Call option นักลงทุนจะได้หรือจะเสียอะไร
- การวัด Expected return ของตราสารหนี้
- ฝากเงินไว้กับธนาคาร หรือลงทุนผ่านตราสารหนี้ดีนะ?
- หุ้นกู้ Securitization ทางเลือกเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน
- ILB ทางเลือกของการลงทุนในภาวะเงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้น
- ซื้อกองทุนตราสารหนี้ แต่ทำไมถึงขาดทุนได้?
- มารู้จักTransition Matrix โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้
- ลงทุนอย่างอุ่นใจ ด้วยหุ้นกู้มีประกัน
- ถ้าอยากซื้อหุ้นกู้เชิญอ่านทางนี้
- วางแผนเกษียณสุขใจไปกับตราสารหนี้
- การเปลี่ยนแปลงของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนจากเกณฑ์ใหม่ กลต.
- ระหว่างสลากออมสิน กับตราสารหนี้ออมอย่างไรให้เหมาะกับเรา
- รู้จักกับ AMRO องค์กรความร่วมมือเพื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอาเซียน+3
- ความจริง 5 ข้อของตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนควรทราบ
- สัญลักษณ์ตราสารหนี้บอกอะไรมากกว่าที่คิด
- Credit rating ไม่สูงก็ออกตราสารหนี้ Coupon ต่ำได้ ด้วยการค้ำประกันจาก CGIF
- Bond Yield สหรัฐฯ สูงขึ้น ดึง Bond Yield ไทยสูงขึ้น ด้วยไหม?
- Basel III Bond ตราสารหนี้ที่เพิ่มความมั่นคงให้แก่ธนาคาร
- ติดตามราคาพันธบัตรรัฐบาล ณ วันปัจจุบันได้จากที่ไหนนะ?
- ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล
- ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ
- สูงหรือต่ำมีความหมายมากกว่าที่คาด
- แนวโน้มของเทคโนโลยี Blockchain ในตลาดตราสารหนี้
- จะสูงหรือต่ำสำคัญอย่างไร
- Credit spread ผู้ช่วยของ Yield curve
- ทิศทางของตลาดตราสารหนี้ไทย
- Yield Curve พระเอกของการลงทุนในตราสารหนี้
- Fund flow ในตลาดตราสารหนี้
- จับตาการลงทุนของต่างชาติในตลาดบอนด์
- Perpetual Bond พิเศษยังไง ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงจัง
- ตราสารหนี้บางรุ่นเลื่อนชำระดอกเบี้ยได้นะจ๊ะ
- มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ หาได้จากไหน?
- ปลายปีอย่างนี้ เป็นจังหวะดีของการลงทุนในตราสารหนี้ไหมนะ
- ความเข้าใจผิดที่อันตราย “ตราสารหนี้เสี่ยงกว่าหุ้น”
- Financial Literacy ของไทย
- อันดับเครดิตต่ำหรือสูง แล้วยังไง
- มีเงิน 5,000 บาท ลงทุนหุ้นกู้ได้ไหมนะ?
- หุ้นกู้แปลงสภาพ เจ้าหนี้ที่กลายร่างเป็นเจ้าของได้ (ตอนที่ 2)
- สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)คือใคร ทำอะไรกัน?
- อะไรคือหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) (ตอนที่ 1)
- เลือกตราสารหนี้ให้เหมือนเลือกแฟน
- “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 2)
- แม้ดอกเบี้ยจะขาขึ้น ก็ไม่หวั่นลงทุนตราสารหนี้
- “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 1)
- Cross Default ในตราสารหนี้
- "หุ้นกู้มีประกัน" เครื่องหมายรับประกันเงินต้นหาย?
- รู้หรือไม่ พันธบัตรไทยฉบับแรกออกมาเมื่อใด
- เม็ดเงินต่างชาติในตราสารหนี้ทำบาทแข็งจริงหรือ?
- กองทุน AI
- ความเสี่ยงหลัก 5 ข้อในการลงทุนตราสารหนี้
- หุ้นกู้ High Yield ลงทุนอย่างไรให้ปลอดภัย
- แฝดคนละฝา Default กับ NPL
- 5 เหตุผลหลักของการลงทุนในตราสารหนี้
- 20 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง พลิกสู่การเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย
- จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 2)
- Callable คุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ Bond
- จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 1)
- ตราสารหนี้ฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อไร?
- Yield Curve ตัวช่วยการลงทุนตราสารหนี้
- เมื่ออัตราดอกเบี้ยผันเปลี่ยน มูลค่าของตราสารหนี้ก็ผันแปร
- Coupon&Yield คู่ซี้ที่แตกต่าง
- หุ้นกู้ vs. หุ้น
- สนใจลงทุนตราสารหนี้ ต้องทำอย่างไร
- ลำดับการชำระหนี้คืน
- อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
- Ultra High Net Worth กลุ่มนักลงทุนใหม่ ขาใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย
- ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond)
- สิทธิแฝงของตราสารหนี้ (Embedded Option)
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชน
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง
- พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB) ตอนนี้น่าลงทุนไหม?
- Intro to Bond
- พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ....เงินต้นไม่หาย แถมงอกเงยไม่น้อยหน้าเงินเฟ้อ
- ความอ่อนไหวของเงินทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทย
- ทำความรู้จักกับหลักเกณฑ์ Basel III และผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้
- ตลาดตราสารหนี้ไทยเติบโตรับกระแสเงินทุนไหลเข้าในครึ่งปีแรก 2559
- การลงทุนตราสารหนี้ แม้จะปลอดภัย ถ้าไม่เข้าใจ...ก็ขาดทุนได้
- การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้...ทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย (ความผันผวนต่ำ)
- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
- รู้จักกับ Perpetual Bond
- ตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชน
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper)
- Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond
- เงินทุนต่างชาติไหลกลับสู่ตลาดตราสารหนี้ไทย
- นิยาม “ตราสารหนี้” แบบเข้าใจง่าย
- "หุ้น" กับ "หุ้นกู้" แฝดคนละฝา
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (1)
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (2)