Bond Blogs
การศึกษาประวัติศาสตร์ก็เพื่อทำความเข้าใจเหตุและผลของความเป็นมาทำให้สามารถคาดการณ์และวางแผนในการรับมือ แก้ไข หรือป้องกัน สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยเมื่อศึกษาข้อมูลย้อนหลังที่ผ่านมา พบว่ามีความน่าสนใจหลายแง่มุมทีเดียว พอจะสรุปเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้
• ตลาดตราสารหนี้ไทยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาก ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 มูลค่าคงค้างตราสารหนี้ไทยต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 76% ในปัจจุบัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 16% สูงกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดหุ้นเสียอีกที่เฉลี่ยปีละ 15% และทิ้งห่างสินเชื่อธนาคารที่ขยายตัวเพียงปีละไม่ถึง 5% เท่านั้น หากเปรียบเทียบกับขนาดตลาดการเงินของโลกที่ McKinsey Global Institute ได้มีการประมาณการมูลค่าไว้ ในปี 2010 ตลาดหุ้นของโลกมีมูลค่าตลาดที่ 54 ล้านล้านดอลล่าร์สรอ. และตลาดตราสารหนี้ของโลกมีขนาด 93 ล้านล้านดอลล่าร์สรอ. ซึ่งใหญ่กว่าตลาดหุ้นเกือบ 2 เท่า ดังนั้นการเติบโตอย่างมากของตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงที่ผ่านมาจึงไม่น่าแปลกใจ เพราะเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาตลาดการเงินของโลกที่การระดมทุนแบบไม่ผ่านตัวกลาง (Disintermediation) ซึ่งทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ต่างก็ได้รับประโยชน์จะเป็นรูปแบบการระดมทุนหลักของตลาดการเงินโลก ทำให้เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าตลาดตราสารหนี้ไทยก็น่าจะยังคงมีอัตราการเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายปี
• ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทยยังขยายตัวได้อีกมาก จากข้อมูลของAsianBondsOnlineพบว่าทุกประเทศในแถบเอเชียมีตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ (ที่ออกโดยรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น ธนาคารกลางและรัฐวิสาหกิจ) ที่ใหญ่กว่าตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งสิ้นซึ่งรวมถึงไทยด้วย โดยตลาดตราสารหนี้ภาครัฐของไทยถือได้ว่ามีสัดส่วนต่อ GDP ที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนเฉลี่ยที่ 50% ต่อGDP แต่สำหรับตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทยถือว่ายังมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก โดยเมื่อ 20 ปีที่แล้วมีขนาดเพียง 3%ต่อ GDP โตขึ้นมาที่ 21%ในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชียมีสัดส่วนเฉลี่ยที่ 37% ต่อGDPโดยในแง่ของจำนวนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ก็ยังมีจำนวนไม่มากนักแม้ว่าจะเพิ่มขึ้นมามากแล้ว เฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ MAIที่เคยออกตราสารหนี้คิดเป็นเพียง 26% เท่านั้น จากที่กล่าวมานี้จึงทำให้มองได้ว่าโอกาสในการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทยยังมีอีกมาก
• ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวเริ่มมีมูลค่าการออกแซงพันธบัตรรัฐบาล สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว ผู้กู้หลักก็คือรัฐบาลและภาคเอกชน ที่มักจะระดมทุนเพื่อไปใช้ในการลงทุนต่างๆ โดยตั้งแต่อดีตที่ผ่านมารัฐบาลจะเป็นผู้กู้รายใหญ่ที่สุด ระหว่างปี 2009-2017 รัฐบาลมีการออกพันธบัตรเฉลี่ยปีละ 5.6 แสนล้านบาท แต่ตั้งแต่ปี 2559 มูลค่าการออกพันธบัตรรัฐบาลกลับถูกแซงด้วยการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวที่ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและสภาพคล่องล้นตลาด จนมูลค่าการออกทะลุ 8 แสนล้านบาทไป 2 ปีซ้อนแซงหน้ามูลค่าการออกพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วดังนั้นในสภาวะที่กล่าวว่าเป็น New Normalนี้ภาคเอกชนก็น่าจะมีแนวโน้มการออกตราสารหนี้ที่สูงขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการลงทุนซึ่งมีขอบเขตการทำธุรกิจที่กว้างกว่ารัฐบาลมาก
• ผู้ออกหุ้นกู้หันมาเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (II/HNW) มากขึ้น ในอดีตการออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่จะเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (PO) จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาทางการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แบบ PP(Private placement) ต่อนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (II/HNW) ได้ นักลงทุนรายใหญ่ (High net worth: HNW) จึงกลายเป็นนักลงทุนหลักในตลาดหุ้นกู้ สัดส่วนการเสนอขายตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชนต่อกลุ่ม II/HNW ในปี 2012 ที่ 31% เพิ่มสูงขึ้นเป็น 79% ในปี 2016 แล้วลดลงเล็กน้อยเป็น 74% ในปี 2017ในขณะที่สัดส่วนการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (PO) ลดลงจาก 68% เหลือ 16% จนเป็นที่สงสัยของนักลงทุนรายย่อยทั่วไปว่าทำไมถึงหาซื้อหุ้นกู้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ช่วงกลางปีนี้เกณฑ์การเสนอขายหุ้นกู้ต่อ HNW ที่ปรับปรุงใหม่กำลังจะบังคับใช้ซึ่งจะมีความเข้มงวดใกล้เคียงกับการเสนอขายแบบ PO มากขึ้นเราจึงอาจจะเห็นผู้ออกหลายรายเร่งออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นให้ทันก่อนเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้
สรุปแล้วตลาดตราสารหนี้ไทยมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในการเป็นแหล่งระดมทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก ซึ่งผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (II/HNW)น่าจะยังคงเป็นนักลงทุนกลุ่มหลักของตราสารหนี้ภาคเอกชนต่อไปจากสภาพคล่องในระบบที่ยังมีอยู่สูง แต่ก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้เห็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนทั่วไป (PO) โดยเฉพาะจากภาคเอกชนที่มีความต้องการระดมทุนขนาดใหญ่ เพราะเกณฑ์การเสนอขายหุ้นกู้แบบ HNW และ PO เริ่มมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น

All Blogs
- เตรียมช้อป หุ้นกู้ ได้ทุกเดือนในปี 2563
- ผลกระทบตลาดตราสารหนี้หลังการเก็บภาษีกองทุน
- High yield bond
- จีน:จากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในโลก สู่ผู้นำการออกตราสารหนี้สีเขียว
- Perpetual bond กับมาตรฐานบัญชีใหม่
- 25 ปี ThaiBMA กับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย
- ตราสารหนี้ฉบับแรกของราชอาณาจักรสยามเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายแรกๆของประเทศ
- 5 ปี ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้กว่าล้านล้าน!!
- Perpetual bond คึกคักส่งท้ายปี 62
- ทวิตเตอร์ “@realDonaldTrump” กระเทือนไปทั้งโลก…การเงิน
- งานนี้ต้องติดตาม...สถานการณ์ผิดนัดชำระหุ้นกู้ในประเทศจีน
- เมื่อเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ แต่เงินบาทยังแข็งค่า
- รู้ยัง! Starbucks ก็ออก Sustainability Bond นะ
- Dual Currency Bond ตราสารหนี้สองสกุล
- หุ้นกู้ไม่มีเรทติ้งแต่มีประกัน ปลอดภัยจริงไหม!!
- Bond Yield ติดลบกินวงกว้างแค่ไหน
- Bond yield ไทยจะต่ำไปไหน
- CAT bond: ตราสารหนี้รับมือเหตุภัยพิบัติ
- เรทติ้ง (Rating) มาจากไหนและบอกอะไรแก่นักลงทุน
- มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท.และผลต่อตลาดตราสารหนี้ไทย
- จับตา!!! สถานการณ์การผิดนัดชำระหุ้นกู้ประเทศสิงคโปร์
- เข้าใจหุ้นกู้ใน 5 นาทีกับ Fact sheet
- เมื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ เปลี่ยนทิศ แล้วดอกเบี้ยไทยจะอย่างไร?
- การปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรของธปท.และผลต่อตลาดบอนด์
- ครบรอบ 22 ปี วิกฤติต้มยำกุ้ง กับการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย
- โอกาสของผู้ระดมทุนในตลาดหุ้นกู้ไทย
- Callable bonds ของไทย คุ้มค่าน่าลงทุน?
- Blue Bond ตราสารหนี้สีฟ้า เพื่อความยั่งยืนของทะเล
- 2-10 Spread สัญญาณคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ
- 1 ปีแห่งการปรับตัวของผู้ออกตั๋ว BE
- ภาษีกองทุนรวมตราสารหนี้: นักลงทุนจะไปต่อกันทางไหน?
- Payment-In-Kind Bond เมื่อดอกเบี้ยจ่ายเป็นหมูแฮม
- ทำไมอยากซื้อ แต่ไม่ได้ซื้อ?
- Bond Switchingเมื่อถึงเวลาก็ต้อง(แลก)เปลี่ยน
- STO อีกหนึ่งทางเลือกในการระดมทุนด้วยเทคโนโลยี Blockchain
- Structured note ผลตอบแทนที่มาพร้อมความผันผวน
- Composite Bond Index ดัชนีสะท้อนผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ไทย
- ลูกหนี้รายใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย
- ภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ผลกระทบต่อนักลงทุน
- Bond Yield ของไทยจะติดเชื้อ Inverted Yield Curve จากสหรัฐฯไหม
- การค้ำประกันจาก CGIF ช่วยผู้ออกลดคูปองดอกเบี้ยให้ต่ำลง
- ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 2)
- ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 1)
- Puttable Bond ตราสารหนี้ที่ให้สิทธินักลงทุนในการไถ่ถอนก่อนครบกำหนดอายุ
- Bond Yield สหรัฐฯกับไทย...ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป
- 10 year challenge ของตลาดตราสารหนี้
- Sustainability bond หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม
- Social Bond พันธบัตรเพื่อสังคมที่เป็นสุข
- สรุป 10 เหตุการณ์สำคัญของตลาดตราสารหนี้ไทยในรอบปี 2561
- D/E Ratio บอกอะไรบ้าง
- เตรียมช้อปหุ้นกู้ออกใหม่ปีหน้า..มีอะไรน่าสนใจ
- เหลียวหลังแลหน้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ ฉบับปี 2561
- จับตาหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
- BAHT Bond ทางเลือกการระดมทุนในอาเซียน
- จับตาหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ของจีน
- ตลาดตราสารหนี้ไทยเป็น safe haven จริงหรือ
- Solar Bond ตราสารหนี้พลังงานแสงอาทิตย์
- ผลตอบแทนของ Green bond ต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปหรือไม่
- ตราสารหนี้สีเขียวกับการเติบโตอย่างยั่งยืน
- การออกหุ้นกู้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
- Asian Bonds Online มีดีมากกว่า Fund flow ในตลาดตราสารหนี้
- Perpetual bond หุ้นกู้ไม่มีอายุ
- ใครลงทุนในหุ้นกู้บ้าง
- ซื้อหุ้นกู้แบบมี Call option นักลงทุนจะได้หรือจะเสียอะไร
- การวัด Expected return ของตราสารหนี้
- ฝากเงินไว้กับธนาคาร หรือลงทุนผ่านตราสารหนี้ดีนะ?
- หุ้นกู้ Securitization ทางเลือกเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน
- ILB ทางเลือกของการลงทุนในภาวะเงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้น
- ซื้อกองทุนตราสารหนี้ แต่ทำไมถึงขาดทุนได้?
- มารู้จักTransition Matrix โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้
- ลงทุนอย่างอุ่นใจ ด้วยหุ้นกู้มีประกัน
- ถ้าอยากซื้อหุ้นกู้เชิญอ่านทางนี้
- วางแผนเกษียณสุขใจไปกับตราสารหนี้
- การเปลี่ยนแปลงของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนจากเกณฑ์ใหม่ กลต.
- ระหว่างสลากออมสิน กับตราสารหนี้ออมอย่างไรให้เหมาะกับเรา
- รู้จักกับ AMRO องค์กรความร่วมมือเพื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอาเซียน+3
- ความจริง 5 ข้อของตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนควรทราบ
- สัญลักษณ์ตราสารหนี้บอกอะไรมากกว่าที่คิด
- Credit rating ไม่สูงก็ออกตราสารหนี้ Coupon ต่ำได้ ด้วยการค้ำประกันจาก CGIF
- Bond Yield สหรัฐฯ สูงขึ้น ดึง Bond Yield ไทยสูงขึ้น ด้วยไหม?
- Basel III Bond ตราสารหนี้ที่เพิ่มความมั่นคงให้แก่ธนาคาร
- ติดตามราคาพันธบัตรรัฐบาล ณ วันปัจจุบันได้จากที่ไหนนะ?
- ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล
- ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ
- สูงหรือต่ำมีความหมายมากกว่าที่คาด
- แนวโน้มของเทคโนโลยี Blockchain ในตลาดตราสารหนี้
- จะสูงหรือต่ำสำคัญอย่างไร
- Credit spread ผู้ช่วยของ Yield curve
- ทิศทางของตลาดตราสารหนี้ไทย
- Yield Curve พระเอกของการลงทุนในตราสารหนี้
- Fund flow ในตลาดตราสารหนี้
- จับตาการลงทุนของต่างชาติในตลาดบอนด์
- Perpetual Bond พิเศษยังไง ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงจัง
- ตราสารหนี้บางรุ่นเลื่อนชำระดอกเบี้ยได้นะจ๊ะ
- มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ หาได้จากไหน?
- ปลายปีอย่างนี้ เป็นจังหวะดีของการลงทุนในตราสารหนี้ไหมนะ
- ความเข้าใจผิดที่อันตราย “ตราสารหนี้เสี่ยงกว่าหุ้น”
- Financial Literacy ของไทย
- อันดับเครดิตต่ำหรือสูง แล้วยังไง
- มีเงิน 5,000 บาท ลงทุนหุ้นกู้ได้ไหมนะ?
- หุ้นกู้แปลงสภาพ เจ้าหนี้ที่กลายร่างเป็นเจ้าของได้ (ตอนที่ 2)
- สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)คือใคร ทำอะไรกัน?
- อะไรคือหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) (ตอนที่ 1)
- เลือกตราสารหนี้ให้เหมือนเลือกแฟน
- “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 2)
- แม้ดอกเบี้ยจะขาขึ้น ก็ไม่หวั่นลงทุนตราสารหนี้
- “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 1)
- Cross Default ในตราสารหนี้
- "หุ้นกู้มีประกัน" เครื่องหมายรับประกันเงินต้นหาย?
- รู้หรือไม่ พันธบัตรไทยฉบับแรกออกมาเมื่อใด
- เม็ดเงินต่างชาติในตราสารหนี้ทำบาทแข็งจริงหรือ?
- กองทุน AI
- ความเสี่ยงหลัก 5 ข้อในการลงทุนตราสารหนี้
- หุ้นกู้ High Yield ลงทุนอย่างไรให้ปลอดภัย
- แฝดคนละฝา Default กับ NPL
- 5 เหตุผลหลักของการลงทุนในตราสารหนี้
- 20 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง พลิกสู่การเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย
- จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 2)
- Callable คุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ Bond
- จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 1)
- ตราสารหนี้ฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อไร?
- Yield Curve ตัวช่วยการลงทุนตราสารหนี้
- เมื่ออัตราดอกเบี้ยผันเปลี่ยน มูลค่าของตราสารหนี้ก็ผันแปร
- Coupon&Yield คู่ซี้ที่แตกต่าง
- หุ้นกู้ vs. หุ้น
- สนใจลงทุนตราสารหนี้ ต้องทำอย่างไร
- ลำดับการชำระหนี้คืน
- อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
- Ultra High Net Worth กลุ่มนักลงทุนใหม่ ขาใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย
- ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond)
- สิทธิแฝงของตราสารหนี้ (Embedded Option)
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชน
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง
- พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB) ตอนนี้น่าลงทุนไหม?
- Intro to Bond
- พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ....เงินต้นไม่หาย แถมงอกเงยไม่น้อยหน้าเงินเฟ้อ
- ความอ่อนไหวของเงินทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทย
- ทำความรู้จักกับหลักเกณฑ์ Basel III และผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้
- ตลาดตราสารหนี้ไทยเติบโตรับกระแสเงินทุนไหลเข้าในครึ่งปีแรก 2559
- การลงทุนตราสารหนี้ แม้จะปลอดภัย ถ้าไม่เข้าใจ...ก็ขาดทุนได้
- การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้...ทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย (ความผันผวนต่ำ)
- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
- รู้จักกับ Perpetual Bond
- ตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชน
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper)
- Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond
- เงินทุนต่างชาติไหลกลับสู่ตลาดตราสารหนี้ไทย
- นิยาม “ตราสารหนี้” แบบเข้าใจง่าย
- "หุ้น" กับ "หุ้นกู้" แฝดคนละฝา
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (1)
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (2)