Bond Blogs Posted by:ThaiBMA Posted on: Apr. 01, 2018 Share this post with แนวโน้มของเทคโนโลยี Blockchain ในตลาดตราสารหนี้ ในยุคFintech ทุกวันนี้ Blockchainกลายเป็นคำยอดนิยมที่ทุกคนต้องทำความรู้จัก หากจะอธิบายสั้นๆ Blockchain ก็คือเทคโนโลยีในการจัดเก็บและจัดการฐานข้อมูลแบบไม่มีศูนย์กลางซึ่งถูกนำมาใช้เบื้องหลังสกุลเงินดิจิตอลอย่างBitcoin และ Cryptocurrencyอีกหลายสกุล ถือเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง โปร่งใส และที่สำคัญคือสามารถทดแทนตัวกลางในการทำธุรกรรมได้ กล่าวกันว่า Blockchainเป็นเทคโนโลยีที่จะมาปฏิวัติระบบเทคโนโลยีของโลกเลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและกลไกการทำงานของ Blockchainแต่จะขอฉายภาพกว้างให้เห็นถึงศักยภาพของBlockchainที่สามารถนำมาใช้ในการทำธุรกรรมด้านการเงิน โดยเราจะลองมาสำรวจกันว่ามีใครนำBlockchainมาใช้ในตลาดการเงินและตราสารหนี้แล้วบ้าง ธนาคารพาณิชย์ไทยเปิดตัวการใช้ Blockchainกับธุรกรรมการเงิน เริ่มจากตลาดการเงินในบ้านเราก่อน ดูเหมือนธนาคารกสิกรไทยจะเป็นธนาคารแรกๆที่เปิดตัวการใช้ Blockchainโดยจะนำมาใช้กับการให้บริการหนังสือค้ำประกัน(Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อเชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้า ทำให้กลายเป็นpaperless 100% ตลอดกระบวนการ สร้างความสะดวกรวดเร็ว ปลอมแปลงยาก และตรวจสอบง่ายเพราะมีการบันทึกประวัติต่อเป็นห่วงโซ่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารอื่นๆ ได้ ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นอีกธนาคารที่จะเริ่มใช้ Blockchainในบริการรับโอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์สำหรับลูกค้ารายย่อย โดยจะนำร่องจากการให้บริการโอนเงินสกุลเยนจากญี่ปุ่น มายังบัญชีสกุลเงินบาทในประเทศไทยโดยตรง ซึ่งเงินจะเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติภายในเวลา 20 นาทีต่อรายการเท่านั้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็ประกาศว่าได้ทำการทดสอบเทคโนโลยี Blockchainเพื่อจะนำมาใช้ในกระบวนการจัดเก็บเอกสารให้เป็นรูปแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มศักยภาพความเร็วในการทำงานเอกสารและสัญญาต่างๆของธนาคาร ทั้งนี้ ล่าสุดสมาชิกสมาคมธนาคารไทย จำนวน 14 แห่ง พร้อมด้วยรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่ง ประกาศเข้าร่วมโครงการ Thailand Blockchain Community Initiative ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยจะเริ่มต้นด้วยโครงการให้บริการหนังสือค้ำประกันบน Blockchainซึ่งจะเปลี่ยนหนังสือค้ำประกันที่มีวงเงินรวมกันทั้งระบบสูงถึง1.35 ล้านล้านบาท ให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ 100% ซึ่งคาดว่าเริ่มใช้ได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดสอบภายใต้Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย การใช้ Blockchain กับธุรกรรมตราสารหนี้ในต่างประเทศ ลองเจาะลึกลงมาที่ตลาดตราสารหนี้กันบ้าง ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการนำ Blockchainมาใช้ในตลาดตราสารหนี้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในต่างประเทศเริ่มมีการทดสอบ (proof of concept) และทำธุรกรรมด้านตราสารหนี้โดยใช้ Blockchainกันแล้วแม้จะอยู่ในวงจำกัด กรณีศึกษาซึ่งเป็นที่กล่าวถึงค่อนข้างมากคือ การออกตราสารหนี้มูลค่า €100 million ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเยอรมันอย่าง Daimler AGผู้ผลิตรถยนต์เมอร์ซีเดสเบนซ์ โดยใช้ Blockchainในการทำธุรกรรมตั้งแต่ การออกตราสารหนี้ การจัดจำหน่าย การจัดสรร การซื้อขาย ไปจนถึงการยืนยันรายการและการจ่ายดอกเบี้ย ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีBlockchainโดยนักลงทุนในดีลนำร่องนี้จำกัดเฉพาะธนาคารและผู้ลงทุนสถาบัน2-3 ราย ธนาคาร Commonwealth แห่งออสเตรเลียถือเป็นธนาคารแห่งแรกที่ประกาศจะนำ Blockchainมาใช้ในการออกตราสารหนี้ โดยก่อนหน้านี้ทางธนาคารประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบ (Proof of concept) แล้วจึงเตรียมการที่จะออกตราสารหนี้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ภายในปี 2018 นี้ ในสหรัฐอเมริกา สถาบันการเงินหลายแห่งอาทิ ING Bank, HSBC, State Street, UBS ร่วมกันจัดตั้ง Startupเพื่อพัฒนาและทดสอบระบบ Blockchainสำหรับใช้ในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เทคโนโลยี smart contract ที่มีใน Blockchainทำให้การซื้อขาย การจับคู่รายการ การชำระราคาส่งมอบ รวมไปถึงการจ่ายดอกเบี้ยและการไถ่ถอนพันธบัตรเป็นไปได้แบบอัตโนมัตินอกจากนั้น เมือง Berkeley, California ในสหรัฐฯ ยังได้ประกาศที่จะออกพันธบัตรเทศบาลโดยใช้ Blockchainโดยคาดว่าจะลดต้นทุนในการจัดจำหน่าย เข้าถึงนักลงทุนได้ง่ายขึ้น และทำให้ทั้งกระบวนการกลายเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ในเอเชีย ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ก็อยู่ระหว่างศึกษาที่จะนำ Blockchain มาใช้กับกระบวนการซื้อขายและชำระราคาตราสารหนี้ โดยก่อนหน้านี้ธนาคารกลางของสิงคโปร์(MAS) ได้ดำเนินการทดสอบระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารผ่านเทคโนโลยี Blockchainไปบ้างแล้ว ศักยภาพของ Blockchain ในตลาดตราสารหนี้ไทย สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้าขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อนำ Blockchainหรืออาจเรียกอีกอย่างว่า Distributed ledger technology (DLT) มาใช้กับระบบงานพันธบัตรรัฐบาล โดยในเฟสแรกจะเริ่มจากการทดสอบ(Proof of concept) งานจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ จากนั้นจึงจะขยายไปสู่ระบบงานพันธบัตรครบวงจรทั้งการจำหน่าย การโอนกรรมสิทธิ์ และการชำระราคาและส่งมอบต่อไป โดยการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะช่วยลดระยะเวลาส่งมอบพันธบัตรออมทรัพย์ถึงมือประชาชนจากเดิม15วันเหลือ 2 วัน ลดตัวกลางโอนเงิน และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนของฝ่ายต่างๆ คาดว่าโครงการนี้จะเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างได้ในเวลาไม่เกิน 1 ปีจากนี้ ไม่เพียงแต่งานด้านพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ก็อยู่ระหว่างการศึกษาที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบงานซื้อขาย งานนายทะเบียนและการโอนกรรมสิทธิ์ของตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อให้เป็นแบบไร้ใบหุ้น (Scripless)100%เพราะปัจจุบันผู้ซื้อหลายรายยังถือหุ้นกู้ในรูปแบบใบหุ้นซึ่งทำให้มีขั้นตอนและระยะเวลาส่งมอบค่อนข้างนาน ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในการซื้อขายและทำให้เกิดความเสี่ยงด้านชำระราคาส่งมอบ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แม้จะเห็นว่าการใช้ Blockchainในตลาดการเงินและตลาดตราสารหนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและการทดสอบ (proof of concept) แต่ปฏิเสธไมได้ว่า ณ นาทีนี้ ผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ต้องศึกษาและจับตามองศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchainแบบใกล้ชิด เพราะเราน่าจะเห็นการทำธุรกรรมตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นบน Blockchainในอนาคตอันใกล้นี้ All Blogs 2024 CAT Bond ตราสารหนี้ภัยพิบัติ แนวโน้มหุ้นกู้ครบกำหนดอายุ Highlight ตลาดตราสารหนี้ไทยปี 2023 2023 สาระสำคัญจากงานสัมมนา “Enable ESG Bond Issuance: Global Dynamic & Thailand Framework Development” การถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ Facts: หุ้นกู้ครบกำหนดในปีหน้า (2024) Par Value คืออะไร พัฒนาการของตลาด ESG Bonds ของไทยเปรียบเทียบกับยุโรป 5 ปีผ่านไป ตลาดหุ้นกู้เปลี่ยนไปขนาดไหน ถ้าผู้ออกหุ้นกู้ถูกฟ้องล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้ต้องทำอย่างไร ลงทุนในหุ้นกู้ต้องรู้จักอันดับเครดิต Highlight Q2 2023 "ESG bonds ในอาเซียน+3 ข้อดี-ข้อเสีย ของการลงทุนในตราสารหนี้...มีอะไรบ้าง 5 สิ่งควรรู้ก่อนลงทุนตราสารหนี้ การออก ESG Bond ของไทย Transition bond ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน IC Bond ตราสารหนี้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัย สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield curve) Basis Points คืออะไร - ต่างจากเปอร์เซ็นต์อย่างไร? ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม อยากรู้ว่าหุ้นกู้มีการซื้อขายบ้างไหม ราคาซื้อขายเป็นยังไง จะดูได้ที่ไหน 2022 เช็กราคาซื้อขายล่าสุด หรือราคา mark to market ของหุ้นกู้ได้ที่ไหน การซื้อขายหุ้นกู้ในตลาดรอง คำนวณราคายังไง ทำไมหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงถึงให้ผลตอบแทนสูง ต่างจากหุ้นกู้ปกติอย่างไร สัญลักษณ์ตราสารหนี้...อ่านอย่างไรและบอกอะไรบ้าง Breakeven Inflation คืออะไร? และ บอกอะไร? BOND INFO แหล่งรวมข้อมูลตราสารหนี้ไทย ตอน รู้จักหุ้นกู้กับเมนู “Issuer Search” รู้จัก Basel III Bond หุ้นกู้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ Baht bond คืออะไร ต่างจากหุ้นกู้ปกติไหม? ทางเลือกการลงทุนในยุคเงินเฟ้อสูง...พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) ตราสารหนี้ผลตอบแทนติดลบกำลังจะ “สูญพันธุ์” หุ้นกู้ที่เสนอขาย HNW จะขายต่อในตลาดรองให้นักลงทุนบุคคลทั่วไปได้ไหม? Prize Bond ตราสารหนี้ลุ้นรับโชค อัพเดต! นิยามใหม่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth)” มีผลบังคับใช้ 1 ต.ค. 2565 นี้ รัฐบาลอินเดียเตรียมออกพันธบัตรสีเขียวครั้งแรกเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รัฐบาลแคนาดาร่วมขบวนรักษ์โลก...ออกพันธบัตรสีเขียวครั้งแรก Blue bond...ตราสารหนี้สีฟ้า..รักษ์ทะเล ESG bonds ของไทยใช้เงินหลากหลายและน่าสนใจแค่ไหน? Highlight 2021 "ESG bonds ในอาเซียน+3" 2021 ADB ออก Blue Bond ครั้งแรก...มุ่งสู่สังคมและเศรษฐกิจสีฟ้าอย่างยั่งยืน สรุปภาวะตลาด ESG bond ในอาเซียน+3 Carbon Neutral Bond ตราสารหนี้สีเขียวประเภทใหม่ของจีน แนวโน้มการออก ESG bond ของไทย...กับการก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน Perpetual Bond กับลักษณะเฉพาะที่ผู้ออกต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง โคลอมเบียออก green bond ขายนักลงทุนในประเทศเป็นครั้งแรก สเปนเตรียมออก Green bond เป็นครั้งแรก Sustainability-Linked Bond รุ่นแรกของไทยมาแล้ว ลงทุนในหุ้นกู้ต้องดูเงื่อนไข Covenant Big Tech พาเหรดออก ESG bond ส่องหุ้นกู้ออกใหม่ครึ่งปีหลัง 2021 FACTS ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนใน ASEAN+3 5 อันดับรัฐวิสาหกิจที่ออกตราสารหนี้สูงสุด (โดยคลังไม่ต้องค้ำ) รัฐบาลแคนาดา เตรียมเสนอขายพันธบัตรสีเขียวเป็นครั้งแรก รู้ไหม ใครถือพันธบัตรรัฐบาลไทยบ้าง ความแตกต่างของ Green, Social และ Sustainability bond รู้จักศัพท์ Bond ที่เกี่ยวกับสัตว์ ยอดการออก ESG bond ในเอเชีย-แปซิฟิก 5 เดือนแรกปีนี้ โตขึ้น 49.5% Amazon.com ไม่ตกขบวนรักษ์โลก ออก Sustainability bond ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนในมาเลเซีย ตราสารหนี้ (อนุ) รักษ์แรด ความเหมือนที่แตกต่างระหว่างอันดับเครดิตของบริษัท และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ ปี 2564 อังกฤษนับหนึ่งพันธบัตรสีเขียว เครื่องมือรักษ์โลกล่าสุด...ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond: SLB) 2020 เมื่อสายแฟ (ชั่น) แคร์โลก...Chanel และ Burberry ออก ESG bond หุ้นกู้สีเขียวอนุพันธ์...อีกรูปแบบหนึ่งในการรักษ์โลก Covid-19 Response Bonds: ตราสารหนี้สู้โควิด Bond ETF อีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนตราสารหนี้ มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 กับตราสารหนี้ (ตอนที่ 2) Pandemic Bond ภารกิจสู้โรค...กับบทเรียนที่ต้องเรียนรู้ เชื้อไวรัสโควิดลามจากคนสู่เศรษฐกิจโลก? มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 กับตราสารหนี้ (ตอนที่ 1) ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืนในประเทศไทย Green bond ในอาเซียน เมื่อจีนเป็นหวัด ทั่วโลกเลยต้องรับยา…ทางการเงิน ย้อนรอยพันธบัตรทองคำของไทย Sovereign Gold Bond พันธบัตรทองคำแห่งชาติ Gender bonds ตราสารหนี้เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพผู้หญิง ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ The Bodyguard ของนักลงทุน Prize Bond ตราสารหนี้สำหรับคนชอบเสี่ยงโชค 2019 สรุป 10 เหตุการณ์เด่นในตลาดตราสารหนี้ไทยปี 2562 พันธบัตรรัฐบาล Low risk but high return ในปี 2562 เหลียวหลังแลหน้า เงินลงทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทย ฉบับปี 2562 บาดาล The Series ตอนที่ 3/3: กำเนิดบาดาล บาดาล The Series ตอนที่ 2/3: ปูมหลัง บาดาล The Series ตอนที่ 1/3: ความสำเร็จก้าวแรก เขาวานให้(หนู)เป็น...สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เตรียมช้อป หุ้นกู้ ได้ทุกเดือนในปี 2563 ผลกระทบตลาดตราสารหนี้หลังการเก็บภาษีกองทุน High yield bond จีน:จากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในโลก สู่ผู้นำการออกตราสารหนี้สีเขียว Perpetual bond กับมาตรฐานบัญชีใหม่ 25 ปี ThaiBMA กับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้ฉบับแรกของราชอาณาจักรสยามเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายแรกๆของประเทศ 5 ปี ภาคเอกชนระดมทุนผ่านหุ้นกู้กว่าล้านล้าน!! Perpetual bond คึกคักส่งท้ายปี 62 ทวิตเตอร์ “@realDonaldTrump” กระเทือนไปทั้งโลก…การเงิน งานนี้ต้องติดตาม...สถานการณ์ผิดนัดชำระหุ้นกู้ในประเทศจีน เมื่อเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ แต่เงินบาทยังแข็งค่า รู้ยัง! Starbucks ก็ออก Sustainability Bond นะ Dual Currency Bond ตราสารหนี้สองสกุล หุ้นกู้ไม่มีเรทติ้งแต่มีประกัน ปลอดภัยจริงไหม!! Bond Yield ติดลบกินวงกว้างแค่ไหน Bond yield ไทยจะต่ำไปไหน CAT bond: ตราสารหนี้รับมือเหตุภัยพิบัติ เรทติ้ง (Rating) มาจากไหนและบอกอะไรแก่นักลงทุน มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท.และผลต่อตลาดตราสารหนี้ไทย จับตา!!! สถานการณ์การผิดนัดชำระหุ้นกู้ประเทศสิงคโปร์ เข้าใจหุ้นกู้ใน 5 นาทีกับ Fact sheet เมื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ เปลี่ยนทิศ แล้วดอกเบี้ยไทยจะอย่างไร? การปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรของธปท.และผลต่อตลาดบอนด์ ครบรอบ 22 ปี วิกฤติต้มยำกุ้ง กับการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย โอกาสของผู้ระดมทุนในตลาดหุ้นกู้ไทย Callable bonds ของไทย คุ้มค่าน่าลงทุน? Blue Bond ตราสารหนี้สีฟ้า เพื่อความยั่งยืนของทะเล 2-10 Spread สัญญาณคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ 1 ปีแห่งการปรับตัวของผู้ออกตั๋ว BE ภาษีกองทุนรวมตราสารหนี้: นักลงทุนจะไปต่อกันทางไหน? Payment-In-Kind Bond เมื่อดอกเบี้ยจ่ายเป็นหมูแฮม ทำไมอยากซื้อ แต่ไม่ได้ซื้อ? Bond Switchingเมื่อถึงเวลาก็ต้อง(แลก)เปลี่ยน STO อีกหนึ่งทางเลือกในการระดมทุนด้วยเทคโนโลยี Blockchain Structured note ผลตอบแทนที่มาพร้อมความผันผวน Composite Bond Index ดัชนีสะท้อนผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ไทย ลูกหนี้รายใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย ภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ผลกระทบต่อนักลงทุน Bond Yield ของไทยจะติดเชื้อ Inverted Yield Curve จากสหรัฐฯไหม การค้ำประกันจาก CGIF ช่วยผู้ออกลดคูปองดอกเบี้ยให้ต่ำลง ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 2) ถอดบทเรียนจากญี่ปุ่นแล้วย้อนมองไทยการออมเพื่อเตรียมเกษียณ (ตอนที่ 1) Puttable Bond ตราสารหนี้ที่ให้สิทธินักลงทุนในการไถ่ถอนก่อนครบกำหนดอายุ Bond Yield สหรัฐฯกับไทย...ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป 10 year challenge ของตลาดตราสารหนี้ Sustainability bond หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม Social Bond พันธบัตรเพื่อสังคมที่เป็นสุข สรุป 10 เหตุการณ์สำคัญของตลาดตราสารหนี้ไทยในรอบปี 2561 D/E Ratio บอกอะไรบ้าง 2018 เตรียมช้อปหุ้นกู้ออกใหม่ปีหน้า..มีอะไรน่าสนใจ เหลียวหลังแลหน้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ ฉบับปี 2561 จับตาหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น BAHT Bond ทางเลือกการระดมทุนในอาเซียน จับตาหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ของจีน ตลาดตราสารหนี้ไทยเป็น safe haven จริงหรือ Solar Bond ตราสารหนี้พลังงานแสงอาทิตย์ ผลตอบแทนของ Green bond ต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปหรือไม่ ตราสารหนี้สีเขียวกับการเติบโตอย่างยั่งยืน การออกหุ้นกู้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ Asian Bonds Online มีดีมากกว่า Fund flow ในตลาดตราสารหนี้ Perpetual bond หุ้นกู้ไม่มีอายุ ใครลงทุนในหุ้นกู้บ้าง ซื้อหุ้นกู้แบบมี Call option นักลงทุนจะได้หรือจะเสียอะไร การวัด Expected return ของตราสารหนี้ ฝากเงินไว้กับธนาคาร หรือลงทุนผ่านตราสารหนี้ดีนะ? หุ้นกู้ Securitization ทางเลือกเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน ILB ทางเลือกของการลงทุนในภาวะเงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้น ซื้อกองทุนตราสารหนี้ แต่ทำไมถึงขาดทุนได้? มารู้จักTransition Matrix โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ ลงทุนอย่างอุ่นใจ ด้วยหุ้นกู้มีประกัน ถ้าอยากซื้อหุ้นกู้เชิญอ่านทางนี้ วางแผนเกษียณสุขใจไปกับตราสารหนี้ การเปลี่ยนแปลงของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนจากเกณฑ์ใหม่ กลต. ระหว่างสลากออมสิน กับตราสารหนี้ออมอย่างไรให้เหมาะกับเรา รู้จักกับ AMRO องค์กรความร่วมมือเพื่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอาเซียน+3 ความจริง 5 ข้อของตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนควรทราบ สัญลักษณ์ตราสารหนี้บอกอะไรมากกว่าที่คิด Credit rating ไม่สูงก็ออกตราสารหนี้ Coupon ต่ำได้ ด้วยการค้ำประกันจาก CGIF Bond Yield สหรัฐฯ สูงขึ้น ดึง Bond Yield ไทยสูงขึ้น ด้วยไหม? Basel III Bond ตราสารหนี้ที่เพิ่มความมั่นคงให้แก่ธนาคาร ติดตามราคาพันธบัตรรัฐบาล ณ วันปัจจุบันได้จากที่ไหนนะ? ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ สูงหรือต่ำมีความหมายมากกว่าที่คาด แนวโน้มของเทคโนโลยี Blockchain ในตลาดตราสารหนี้ จะสูงหรือต่ำสำคัญอย่างไร Credit spread ผู้ช่วยของ Yield curve ทิศทางของตลาดตราสารหนี้ไทย Yield Curve พระเอกของการลงทุนในตราสารหนี้ Fund flow ในตลาดตราสารหนี้ จับตาการลงทุนของต่างชาติในตลาดบอนด์ Perpetual Bond พิเศษยังไง ทำไมจ่ายดอกเบี้ยสูงจัง ตราสารหนี้บางรุ่นเลื่อนชำระดอกเบี้ยได้นะจ๊ะ มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ หาได้จากไหน? 2017 ปลายปีอย่างนี้ เป็นจังหวะดีของการลงทุนในตราสารหนี้ไหมนะ ความเข้าใจผิดที่อันตราย “ตราสารหนี้เสี่ยงกว่าหุ้น” Financial Literacy ของไทย อันดับเครดิตต่ำหรือสูง แล้วยังไง มีเงิน 5,000 บาท ลงทุนหุ้นกู้ได้ไหมนะ? หุ้นกู้แปลงสภาพ เจ้าหนี้ที่กลายร่างเป็นเจ้าของได้ (ตอนที่ 2) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)คือใคร ทำอะไรกัน? อะไรคือหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) (ตอนที่ 1) เลือกตราสารหนี้ให้เหมือนเลือกแฟน “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 2) แม้ดอกเบี้ยจะขาขึ้น ก็ไม่หวั่นลงทุนตราสารหนี้ “สั้น” หรือ “ยาว” อะไรเร้าใจกว่ากัน (ตอนที่ 1) Cross Default ในตราสารหนี้ "หุ้นกู้มีประกัน" เครื่องหมายรับประกันเงินต้นหาย? รู้หรือไม่ พันธบัตรไทยฉบับแรกออกมาเมื่อใด เม็ดเงินต่างชาติในตราสารหนี้ทำบาทแข็งจริงหรือ? กองทุน AI ความเสี่ยงหลัก 5 ข้อในการลงทุนตราสารหนี้ หุ้นกู้ High Yield ลงทุนอย่างไรให้ปลอดภัย แฝดคนละฝา Default กับ NPL 5 เหตุผลหลักของการลงทุนในตราสารหนี้ 20 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง พลิกสู่การเติบโตของตลาดตราสารหนี้ไทย จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 2) Callable คุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ Bond จะซื้อหุ้นกู้ ต้องดู Credit Spread ( ตอนที่ 1) ตราสารหนี้ฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อไร? Yield Curve ตัวช่วยการลงทุนตราสารหนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยผันเปลี่ยน มูลค่าของตราสารหนี้ก็ผันแปร Coupon&Yield คู่ซี้ที่แตกต่าง หุ้นกู้ vs. หุ้น สนใจลงทุนตราสารหนี้ ต้องทำอย่างไร ลำดับการชำระหนี้คืน อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) Ultra High Net Worth กลุ่มนักลงทุนใหม่ ขาใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) สิทธิแฝงของตราสารหนี้ (Embedded Option) ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชน ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB) ตอนนี้น่าลงทุนไหม? Intro to Bond 2016 พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ....เงินต้นไม่หาย แถมงอกเงยไม่น้อยหน้าเงินเฟ้อ ความอ่อนไหวของเงินทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทย ทำความรู้จักกับหลักเกณฑ์ Basel III และผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยเติบโตรับกระแสเงินทุนไหลเข้าในครึ่งปีแรก 2559 การลงทุนตราสารหนี้ แม้จะปลอดภัย ถ้าไม่เข้าใจ...ก็ขาดทุนได้ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้...ทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย (ความผันผวนต่ำ) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ รู้จักกับ Perpetual Bond 2015 ตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชน ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) Infrastructure Fund vs. Infrastructure Bond เงินทุนต่างชาติไหลกลับสู่ตลาดตราสารหนี้ไทย นิยาม “ตราสารหนี้” แบบเข้าใจง่าย "หุ้น" กับ "หุ้นกู้" แฝดคนละฝา ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (1) ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างมั่นคง (2) คลังบทความ
Posted by:ThaiBMA Posted on: Apr. 01, 2018 Share this post with แนวโน้มของเทคโนโลยี Blockchain ในตลาดตราสารหนี้ ในยุคFintech ทุกวันนี้ Blockchainกลายเป็นคำยอดนิยมที่ทุกคนต้องทำความรู้จัก หากจะอธิบายสั้นๆ Blockchain ก็คือเทคโนโลยีในการจัดเก็บและจัดการฐานข้อมูลแบบไม่มีศูนย์กลางซึ่งถูกนำมาใช้เบื้องหลังสกุลเงินดิจิตอลอย่างBitcoin และ Cryptocurrencyอีกหลายสกุล ถือเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง โปร่งใส และที่สำคัญคือสามารถทดแทนตัวกลางในการทำธุรกรรมได้ กล่าวกันว่า Blockchainเป็นเทคโนโลยีที่จะมาปฏิวัติระบบเทคโนโลยีของโลกเลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและกลไกการทำงานของ Blockchainแต่จะขอฉายภาพกว้างให้เห็นถึงศักยภาพของBlockchainที่สามารถนำมาใช้ในการทำธุรกรรมด้านการเงิน โดยเราจะลองมาสำรวจกันว่ามีใครนำBlockchainมาใช้ในตลาดการเงินและตราสารหนี้แล้วบ้าง ธนาคารพาณิชย์ไทยเปิดตัวการใช้ Blockchainกับธุรกรรมการเงิน เริ่มจากตลาดการเงินในบ้านเราก่อน ดูเหมือนธนาคารกสิกรไทยจะเป็นธนาคารแรกๆที่เปิดตัวการใช้ Blockchainโดยจะนำมาใช้กับการให้บริการหนังสือค้ำประกัน(Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อเชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้า ทำให้กลายเป็นpaperless 100% ตลอดกระบวนการ สร้างความสะดวกรวดเร็ว ปลอมแปลงยาก และตรวจสอบง่ายเพราะมีการบันทึกประวัติต่อเป็นห่วงโซ่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารอื่นๆ ได้ ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นอีกธนาคารที่จะเริ่มใช้ Blockchainในบริการรับโอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์สำหรับลูกค้ารายย่อย โดยจะนำร่องจากการให้บริการโอนเงินสกุลเยนจากญี่ปุ่น มายังบัญชีสกุลเงินบาทในประเทศไทยโดยตรง ซึ่งเงินจะเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติภายในเวลา 20 นาทีต่อรายการเท่านั้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็ประกาศว่าได้ทำการทดสอบเทคโนโลยี Blockchainเพื่อจะนำมาใช้ในกระบวนการจัดเก็บเอกสารให้เป็นรูปแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มศักยภาพความเร็วในการทำงานเอกสารและสัญญาต่างๆของธนาคาร ทั้งนี้ ล่าสุดสมาชิกสมาคมธนาคารไทย จำนวน 14 แห่ง พร้อมด้วยรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่ง ประกาศเข้าร่วมโครงการ Thailand Blockchain Community Initiative ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยจะเริ่มต้นด้วยโครงการให้บริการหนังสือค้ำประกันบน Blockchainซึ่งจะเปลี่ยนหนังสือค้ำประกันที่มีวงเงินรวมกันทั้งระบบสูงถึง1.35 ล้านล้านบาท ให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ 100% ซึ่งคาดว่าเริ่มใช้ได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดสอบภายใต้Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย การใช้ Blockchain กับธุรกรรมตราสารหนี้ในต่างประเทศ ลองเจาะลึกลงมาที่ตลาดตราสารหนี้กันบ้าง ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการนำ Blockchainมาใช้ในตลาดตราสารหนี้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในต่างประเทศเริ่มมีการทดสอบ (proof of concept) และทำธุรกรรมด้านตราสารหนี้โดยใช้ Blockchainกันแล้วแม้จะอยู่ในวงจำกัด กรณีศึกษาซึ่งเป็นที่กล่าวถึงค่อนข้างมากคือ การออกตราสารหนี้มูลค่า €100 million ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเยอรมันอย่าง Daimler AGผู้ผลิตรถยนต์เมอร์ซีเดสเบนซ์ โดยใช้ Blockchainในการทำธุรกรรมตั้งแต่ การออกตราสารหนี้ การจัดจำหน่าย การจัดสรร การซื้อขาย ไปจนถึงการยืนยันรายการและการจ่ายดอกเบี้ย ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีBlockchainโดยนักลงทุนในดีลนำร่องนี้จำกัดเฉพาะธนาคารและผู้ลงทุนสถาบัน2-3 ราย ธนาคาร Commonwealth แห่งออสเตรเลียถือเป็นธนาคารแห่งแรกที่ประกาศจะนำ Blockchainมาใช้ในการออกตราสารหนี้ โดยก่อนหน้านี้ทางธนาคารประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบ (Proof of concept) แล้วจึงเตรียมการที่จะออกตราสารหนี้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ภายในปี 2018 นี้ ในสหรัฐอเมริกา สถาบันการเงินหลายแห่งอาทิ ING Bank, HSBC, State Street, UBS ร่วมกันจัดตั้ง Startupเพื่อพัฒนาและทดสอบระบบ Blockchainสำหรับใช้ในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เทคโนโลยี smart contract ที่มีใน Blockchainทำให้การซื้อขาย การจับคู่รายการ การชำระราคาส่งมอบ รวมไปถึงการจ่ายดอกเบี้ยและการไถ่ถอนพันธบัตรเป็นไปได้แบบอัตโนมัตินอกจากนั้น เมือง Berkeley, California ในสหรัฐฯ ยังได้ประกาศที่จะออกพันธบัตรเทศบาลโดยใช้ Blockchainโดยคาดว่าจะลดต้นทุนในการจัดจำหน่าย เข้าถึงนักลงทุนได้ง่ายขึ้น และทำให้ทั้งกระบวนการกลายเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ในเอเชีย ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ก็อยู่ระหว่างศึกษาที่จะนำ Blockchain มาใช้กับกระบวนการซื้อขายและชำระราคาตราสารหนี้ โดยก่อนหน้านี้ธนาคารกลางของสิงคโปร์(MAS) ได้ดำเนินการทดสอบระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารผ่านเทคโนโลยี Blockchainไปบ้างแล้ว ศักยภาพของ Blockchain ในตลาดตราสารหนี้ไทย สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้าขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อนำ Blockchainหรืออาจเรียกอีกอย่างว่า Distributed ledger technology (DLT) มาใช้กับระบบงานพันธบัตรรัฐบาล โดยในเฟสแรกจะเริ่มจากการทดสอบ(Proof of concept) งานจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ จากนั้นจึงจะขยายไปสู่ระบบงานพันธบัตรครบวงจรทั้งการจำหน่าย การโอนกรรมสิทธิ์ และการชำระราคาและส่งมอบต่อไป โดยการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะช่วยลดระยะเวลาส่งมอบพันธบัตรออมทรัพย์ถึงมือประชาชนจากเดิม15วันเหลือ 2 วัน ลดตัวกลางโอนเงิน และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนของฝ่ายต่างๆ คาดว่าโครงการนี้จะเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างได้ในเวลาไม่เกิน 1 ปีจากนี้ ไม่เพียงแต่งานด้านพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ก็อยู่ระหว่างการศึกษาที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบงานซื้อขาย งานนายทะเบียนและการโอนกรรมสิทธิ์ของตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อให้เป็นแบบไร้ใบหุ้น (Scripless)100%เพราะปัจจุบันผู้ซื้อหลายรายยังถือหุ้นกู้ในรูปแบบใบหุ้นซึ่งทำให้มีขั้นตอนและระยะเวลาส่งมอบค่อนข้างนาน ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในการซื้อขายและทำให้เกิดความเสี่ยงด้านชำระราคาส่งมอบ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แม้จะเห็นว่าการใช้ Blockchainในตลาดการเงินและตลาดตราสารหนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและการทดสอบ (proof of concept) แต่ปฏิเสธไมได้ว่า ณ นาทีนี้ ผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ต้องศึกษาและจับตามองศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchainแบบใกล้ชิด เพราะเราน่าจะเห็นการทำธุรกรรมตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นบน Blockchainในอนาคตอันใกล้นี้