Individual Investors

  • Posted by:

    ThaiBMA
  • Posted on:

    June 21, 2017
Callable คุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ Bond

ตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ เป็นแบบจ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ กำหนดวันหมดอายุไว้แน่นอน ไม่ด้อยสิทธิและมักจะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่อย่างไรก็ตามตราสารหนี้บางรุ่นอาจเพิ่มเงื่อนไขให้สอดคล้องกับกระแสรายรับรายจ่ายหรือโครงสร้างทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้นั้นหนึ่งในเงื่อนไขพิเศษซึ่งใช้กันบ่อยๆก็คือ สิทธิในการไถ่ถอนก่อนกำหนด (Call option)

ตราสารหนี้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกในการเรียกไถ่ถอนได้ก่อนครบกำหนดอายุ เรียกว่า Callable Bondโดยจะมีการระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ใช้สิทธิและราคาที่จะไถ่ถอน เช่น ตราสารหนี้อายุ 10 ปี ผู้ออกอาจกำหนดเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนได้ก่อนกำหนดณ สิ้นปีที่ 5 ที่ราคาพาร์เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ออกตราสารหนี้จะใช้สิทธิในการไถ่ถอนก่อนกำหนดก็ต่อเมื่อได้ประโยชน์จากการไถ่ถอน เช่น สามารถออกตราสารรุ่นใหม่ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง

สมมติ บริษัท Aออกหุ้นกู้2 รุ่น คือ A1 และ A2 อายุ 10 ปี Rating AAA เท่ากันโดยรุ่นA.1 เป็น Callable bond จ่ายดอกเบี้ย 5.25%มีสิทธิCall ได้ ณ ปีที่ 5 ส่วนรุ่นA.2 จ่ายดอกเบี้ย 5.00%ไม่มีสิทธิแฝง เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ AAA ในตลาดซึ่งอายุ 5 ปี อยู่ที่ 3%ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ทั้ง 2 รุ่นของบริษัท A ในกรณีนี้บริษัท A น่าจะใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ A.1 ที่เป็นCallable bond และออกตราสารหนี้อายุ 5ปีรุ่นใหม่โดยจ่ายดอกเบี้ยเพียง3% เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน ในขณะที่ยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ย 5%สำหรับหุ้นกู้ A2 ต่อไป ในทางกลับกันเมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดของตราสารหนี้ AAA อายุ 5 ปี อยู่ที่ 8% บริษัท A จะไม่ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ A.1ที่เป็น Callable bond เนื่องจากการออกตราสารหนี้ใหม่แทนตราสารหนี้เดิมมีต้นทุนที่สูงกว่า

ในแง่ของนักลงทุนการที่ผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดอาจมีผลให้เกิดความไม่แน่นอนของกระแสรายรับดอกเบี้ยในอนาคต เช่น นักลงทุนคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกู้ที่ 5.25% ทุกปี เป็นระยะเวลา 10 ปี แต่หากในปีที่ 5 ผู้ออกใช้สิทธิ Call หรือเรียกไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ที่ 2% ก็จะทำให้นักลงทุนเสียโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ 5.25%ในช่วงที่เหลืออีก 5 ปี และเงินต้นที่ได้รับคืนมาก็ไม่สามารถนำไปลงทุนต่อในตราสารหนี้ที่จะให้ผลตอบแทนสูงเช่นนั้นได้ที่ระดับความเสี่ยงด้านเครดิตเท่ากันดังนั้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนกำหนด(Call risk)Callable bondจึงมักจะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไปที่ไม่มีสิทธิ Callซึ่งมีอายุและความเสี่ยงด้านเครดิตที่เท่ากัน

จากลักษณะของ Callable bond ที่ได้กล่าวมานี้ ราคาของ Callable bondจึงมีความแตกต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปที่ไม่มีCall optionโดยหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับลดลงมาก ตราสารหนี้ที่ไม่มี Call option จะมีราคาเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ Callable bond แม้ราคาจะสูงขึ้นแต่ก็จะไม่สูงไปกว่าราคาไถ่ถอนในช่วงเวลาที่ผู้ออกสามารถไถ่ถอนได้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าผู้ออกจะใช้สิทธิไถ่ถอนในรอบถัดไป ส่งผลให้นักลงทุนมีโอกาสได้กำไรจากส่วนต่างราคาน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่มี Call option ในทางตรงข้าม หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับสูงขึ้นราคาของตราสารหนี้ทั้ง Callable bond และที่ไม่ใช่Callable bondจะลดลงแต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงราคาของตราสารหนี้ที่เป็น Callable bond จะต่ำกว่าตราสารหนี้ที่ไม่ใช่Callable bondเสมอ

All Blogs