Individual Investors

  • Posted by:

    ThaiBMA
  • Posted on:

    Apr 10, 2018
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ
(ThaiBMA Inflation-Linked Bond Index)

ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (ThaiBMA Inflation-Linked Bond Index) เป็นดัชนีที่ใช้อ้างอิงผลตอบแทนในการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลซึ่งอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ (Inflation-Linked Bond) ซึ่งในปัจจุบันมีพันธบัตรประเภทนี้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ ทั้งหมด 2 รุ่นคือ ILB217A และ ILB283A สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกพันธบัตร ที่จะเข้ามาในตะกร้าสำหรับการคำนวณดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (Inflation-linked Bond Index) มีดังนี้

• พันธบัตรรัฐบาลที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Registered Bonds)
• ไม่มีสิทธิ์แฝง (Option Embedded) เช่น สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด (Call Option)
• กำหนดจ่ายอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงเงินเฟ้อ (Inflation-linked)

ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อของ ThaiBMA นั้นคำนวณโดยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตามราคาตลาดของแต่ละพันธบัตร (Market Capitalization Weighted Index) โดยอัตราผลตอบแทนที่ใช้ในการคำนวณดัชนีจะมาจาก Mark-to-Market เพื่อให้สะท้อนการคิดมูลค่ายุติธรรมของพอร์ตการลงทุน และกำหนดวันฐานของดัชนีเป็นวันที่ 12 มีนาคม 2013 มีค่าเริ่มต้นที่ 100 โดยมีการคำนวณทุกวันและเผยแพร่ผ่านทางเว็ปไซต์ iBond ทั้งนี้ดัชนีที่เผยแพร่มีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่

1) Unadjusted Clean Price Index
2) Unadjusted Gross Price Index
3) Unadjusted Total Return Index
4) Adjusted Clean Price Index
5) Adjusted Gross Price Index
6) Adjusted Total Return Index

โดยความแตกต่างระหว่างดัชนีลำดับที่ 1 – 3 และดัชนีลำดับที่ 4 – 6 คือ กลุ่มแรกจะเป็นดัชนีที่ไม่คิดผลของ Index Ratio หมายถึง ราคาที่นำมาใช้ในการคำนวณจะเป็นราคาของพันธบัตรก่อนถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ (Unadjusted Price: PUnadjusted) ส่วนดัชนีลำดับที่ 4 – 6 จะใช้ราคาของพันธบัตรหลังถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ (Adjusted Price: PAdjusted = PUnadjusted x Index Ratio) เพื่อให้สอดคล้องกับการอ้างอิงผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นผู้ลงทุนควรเลือกดัชนีที่สะท้อนถึงการประเมินมูลค่ายุติธรรมของพอร์ตลงทุนด้วย

ภาพที่ 1: แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Unadjusted และ Adjusted Total Return Inflation-Linked Bond Index รายวัน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

1.) Unadjusted Clean Price Index เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาพันธบัตร โดยไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ (Accrued Interest) ดังนั้นดัชนีประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับราคาและอายุคงเหลือของพันธบัตรเท่านั้น

Unadjusted Clean Price Index

2.) Unadjusted Gross Price Index เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาพันธบัตร โดยนำเอาดอกเบี้ยค้างรับเข้ามารวมในการคำนวณด้วย ดังนั้นดัชนีประเภทนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับราคาและอายุคงเหลือของหุ้นกู้แล้ว ยังขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยค้างรับอีกด้วย การคำนวณ Unadjusted Gross Price Bond Index จะเริ่มจากการคำนวณมูลค่าของดอกเบี้ยค้างรับของตราสารหนี้โดยเทียบกับมูลค่าตามราคาตลาด ดังนี้

Unadjusted Gross Price Index

3.) Unadjusted Total Return Index เป็นดัชนีที่นอกจากจะนำเอาดอกเบี้ยคงค้างเข้ามาในการคำนวณแล้วยังได้รวมเอาดอกเบี้ยจากการลงทุน (Coupon Interest) ของพันธบัตรที่มีกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันที่คำนวณค่าดัชนี ดังนี้

Unadjusted Total Return Index

4.) Adjusted Clean Price Index เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาพันธบัตร โดยไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ (Accrued Interest) ดังนั้นดัชนีประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับราคาและอายุคงเหลือของพันธบัตรเท่านั้น

Adjusted Clean Price Index

5.) Adjusted Gross Price Index เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาพันธบัตร โดยนำเอาดอกเบี้ยค้างรับเข้ามารวมในการคำนวณด้วย ดังนั้นดัชนีประเภทนี้ นอกจากจะขึ้นอยู่กับราคาและอายุคงเหลือของหุ้นกู้แล้ว ยังขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยค้างรับอีกด้วย การคำนวณ Unadjusted Gross Price Bond Index จะเริ่มจากการคำนวณมูลค่าของดอกเบี้ยค้างรับของตราสารหนี้โดยเทียบกับมูลค่าตามราคาตลาด ดังนี้

Adjusted Gross Price Index

6.) Adjusted Total Return Index เป็นดัชนีที่นอกจากจะนำเอาดอกเบี้ยคงค้างเข้ามาในการคำนวณแล้วยังได้รวมเอาดอกเบี้ยจากการลงทุน (Coupon Interest) ของพันธบัตรที่มีกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันที่คำนวณค่าดัชนี ดังนี้

Adjusted Total Return Index

ฝ่ายบริการราคาตราสารหนี้และพัฒนาผลิตภัณฑ์
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
6 มีนาคม 2561

All Blogs