Individual Investors

  • Posted by:

    ThaiBMA
  • Posted on:

    Feb. 11, 2019
Bond Yield สหรัฐฯกับไทย...ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป

ในอดีตที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) สหรัฐฯและไทยอายุ10 ปีมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง แต่ในช่วงหลังจากวิกฤตซับไพรม์หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี2008 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) สหรัฐฯและไทยอายุ10 ปีดูจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกันน้อยลงCorrelation ที่คำนวณได้ในช่วงหลังปี 2008ก็มีค่าต่ำลงจากในช่วงก่อนหน้าเล็กน้อย (ปี 2002-08 มีค่า +0.57 และลดเหลือ +0.51 ในช่วงปี 2009-18) แต่หากมองถึงสถานการณ์ในปีที่ผ่านมาที่เพิ่งเกิดขึ้น มีหลายช่วงจังหวะที่ Bond Yield ไทยเคลื่อนไหวตามปัจจัยเฉพาะของไทยเองมากกว่าที่จะเคลื่อนไหวล้อตามไปกับ Bond Yield สหรัฐฯ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานไหม

พื้นฐานเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินไทย ณ ปัจจุบัน นับว่ามีความแข็งแกร่งขึ้นมาก โดยเศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากภาคส่งออกและการท่องเที่ยวส่งผลให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2017 มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่กว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 11%ของจีดีพีซึ่งสูงกว่าเมื่อปี 2008 มากนัก ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการกับความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนโลกก็เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาด้านหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนไทย ปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่27% ของจีดีพี ใกล้เคียงกันกับเมื่อปี 2008 แต่หากเทียบกับระดับ 64% เมื่อตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997ก็ถือว่าสัดส่วนลดลงอย่างมากส่วนหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลต่อจีดีพีก็ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเพียง0.6% ซึ่งในปัจจุบันเกินครึ่งได้ทำการป้องกันความเสี่ยง (Hedged) ไว้แล้วโดยสรุปจะเห็นว่า ประเทศไทยมีการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศน้อยลงขณะที่ปัจจัยที่กล่าวมา สะท้อนว่าประเทศไทยมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา สามารถเผชิญความผันผวนในต่างประเทศได้ดีขึ้นความเสี่ยงจากต่างประเทศจึงมีแนวโน้มจะกระทบต่อตลาดทุนไทยน้อยลง อย่างน้อยก็กับตลาดตราสารหนี้ไทย

ถ้าดูจากเหตุการณ์ในปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีหลายช่วงเวลาที่Bond Yield ไทย มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกเทศจากBond Yield สหรัฐฯหรือได้รับผลกระทบอย่างจำกัดแม้ว่าBond Yield สหรัฐฯ จะค่อนข้างผันผวนก็ตาม โดยส่วนต่างของค่าสูงสุดและต่ำสุดBond Yield10 ปีของไทยในปีที่ผ่านมามีค่าเพียงครึ่งหนึ่ง (44 bps.) ของ Bond Yield สหรัฐ (80 bps.) และตลอดทั้งปีก็มีหลายช่วงหลายตอนที่ Bond Yield ไทย กับสหรัฐฯ ไม่ค่อยจะสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น

 เปิดต้นปีในเดือนมกราคม Bond Yield สหรัฐเพิ่มขึ้นราว 28 bps. จากความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวดี แต่ Bond Yield ไทย กลับลดลง 3 bps. จากเงินลงทุนต่างประเทศที่ทั้งเดือนยังไหลเข้าซื้อในตราสารหนี้ระยะยาวสุทธิสูงถึง 3.9หมื่นล้านบาทนอกจากนี้ ช่วงดังกล่าวยังเป็นจุดเริ่มต้นการเคลื่อนไหวของ Bond Yield ไทย ที่ต่ำกว่า Bond Yield สหรัฐฯ

 ถัดมาในครึ่งเดือนหลังของพฤษภาคมBond Yield สหรัฐฯ ปรับลดลงถึง 27 bps. จาก3.095% ซึ่งระดับ 3%มีความสำคัญทางจิตวิทยามายืนที่ 2.83% จากความกังวลเรื่องหนี้ของอิตาลีและปัญหาการเมืองในสเปน แต่ทว่าBond Yield ไทยปรับขึ้น 8 bps. หลังการประกาศจีดีพีไตรมาส 1ที่ขยายตัวดีกว่าคาดและสูงสุดในรอบ 5 ปี

 ต่อมาในเดือนกรกฎาคมแม้ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนเริ่มร้อนระอุอีกครั้ง แต่ข้อมูลการจ้างงานเชิงบวกช่วยหนุนให้ Bond Yield สหรัฐฯปรับขึ้นอีก 10 bps. ตรงข้ามกับ Bond Yield ไทย ที่ลดลง 8 bps. จากเงินลงทุนต่างประเทศไหลเข้าต่อเนื่อง

 และอีกช่วงหนึ่งในปลายไตรมาส 3 ที่ความผันผวนในตลาดดีดสูงขึ้นจากความกังวลต่อวิกฤติเศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯก็ยังออกมาดี ส่งผลให้ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับขึ้นถึง 35.5 bps.ไปยืนที่ 3.227%แถมเป็นการแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี แต่ Bond Yield ไทย ขยับขึ้นเพียง 14 bps.หลังเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มส่งสัญญาณแผ่วตัวลงอนึ่ง ในช่วงดังกล่าว Bond Yield ไทย ยังได้ปรับขึ้นทำสถิติสูงสุดในปี 2018 อยู่ที่ 2.885% ด้วย

สรุปได้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยบวกกับเสถียรภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น มีส่วนทำให้การเคลื่อนไหวของ Bond Yield ไทยกับ Bond Yield สหรัฐฯมีความสัมพันธ์ที่ลดลง

All Blogs