• Posted by:

    ThaiBMA
  • Posted on:

    Jan 25 2017
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB) ตอนนี้น่าลงทุนไหม?

การก้าวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ซึ่งมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลายๆ ที่อย่างส่งผลให้ตลาดคาดการณ์กันว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯมีโอกาสพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยเองในเดือน พย. 2559ที่ผ่านมาก็อยู่ในอัตราสูงสุดในรอบ 23 เดือน และกระทรวงพาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อในปี2560 จะขยายตัวที่ระดับ 1.5%-2.0% จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นแบบนี้การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินเฟ้ออย่างการลงทุนในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจหรือไม่ เราลองมาดูกัน

ในบ้านเราพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ หรือ Inflation-linkedbond(ILB) ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง คือ พันธบัตรที่จ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงจากอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ (สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก “พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ....เงินต้นไม่หาย แถมงอกเงยไม่น้อยหน้าเงินเฟ้อ”)เงินเฟ้อยิ่งสูง การจ่ายผลตอบแทนของ ILB ก็สูงตาม ดังนั้น ILB จึงเหมาะกับการลงทุนในช่วงที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น

โดยทั่วไป นักลงทุนจะเทียบเคียงผลตอบแทนจาก ILB กับพันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยคงที่ (LB)ในรุ่นอายุใกล้เคียงกัน ในทางทฤษฎีผลตอบแทนที่ได้รับจากพันธบัตรทั้ง 2 นี้จะเท่ากันหากการคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาดเท่ากับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเราเรียกอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้การลงทุนใน ILB หรือ LB ได้รับผลตอบแทนที่ไม่แตกต่างกันว่า Breakeven Inflation(ซึ่งคำนวณได้จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ลบด้วย Real yield (ผลตอบแทนไม่รวมเงินเฟ้อ) ของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรุ่นอายุเท่ากัน)

ดังนั้นหากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าระดับ Breakeven Inflation ก็จะทำให้การลงทุนในILBให้ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในLBและในทางกลับกัน หากอัตราเงินเฟ้อจริงต่ำกว่าระดับ Breakeven inflationการลงทุนในพันธบัตร LB จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ILB

ยกตัวอย่างเช่น หากผลตอบแทนของ LB 5 ปี อยู่ที่ 2.08% ในขณะที่Real yield (ผลตอบแทนไม่รวมเงินเฟ้อ) ของ ILB 5ปี อยู่ที่ 1.48% จะคำนวณBreakeven Inflationได้เท่ากับ 0.6 %(2.08%-1.48% = 0.6%)ดังนั้น หากนักลงทุนคิดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 ปี จะสูงกว่า 0.6 % ก็ควรลงทุนใน ILB แต่หากคิดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 ปี จะต่ำกว่า 0.6 % ก็ควรจะลงทุนใน LB

ลองมาดูสถานการณ์จริงของตลาดกัน ในปัจจุบันมี ILB ที่ออกโดยกระทรวงการคลังอยู่ 2รุ่นคือ
1) ILB 283A อายุคงเหลือ 11 ปี จากข้อมูล ณ 19 ม.ค. 2017 คำนวณ Breakeven Inflation ได้เท่ากับ 1.06% ซึ่งต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังของประเทศไทยซึ่งเท่ากับ 1.96%
2) ILB 217A อายุคงเหลือ 4 ปี คำนวณ Breakeven Inflationได้เท่ากับ 0.59% ซึ่งก็ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 1.10%

จากข้อมูลข้างต้น หากเราเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในอนาคตน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในอดีตซึ่งสูงกว่าระดับ Breakeven Inflation ของ ILB ทั้ง 2 รุ่นนี้แล้ว การลงทุนใน ILB ในช่วงจังหวะเวลานี้ก็ถือได้ว่าน่าสนใจอย่างมาก!!!

เพื่อความมั่นใจ เราลองเปรียบเทียบBreakeven Inflationของ ILB กับประมาณการเงินเฟ้อของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าเงินเฟ้อในปี2560 จะอยู่ที่ 2%ในขณะที่กระทรวงการคลังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2560 จะอยู่ที่ 1.6-2.6 %จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ของทั้ง 2 หน่วยงานล้วนอยู่ในระดับที่สูงกว่าBreakeven Inflationของ ILB ทั้ง 2 รุ่นซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นถึงความน่าสนใจของการลงทุนใน ILB ในช่วงนี้

แล้วจะหาซื้อ ILB ได้จากไหน? ช่องทางที่สะดวกที่สุดสำหรับนักลงทุนรายย่อยก็คือการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนใน ILB นั่นเองเพราะการลงทุนในพันธบัตร ILBโดยตรงในตลาดรองต้องใช้เงินลงทุนสูงและอาจหาซื้อค่อนข้างยากทั้งนี้ ในตลาดตอนนี้มีกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนใน ILBโดยเฉพาะอยู่กองเดียวคือกองทุน KTILBจาก บลจ.กรุงไทยมีNAVอยู่ที่ 11.0743 บาท (ข้อมูล ณ 23/1/2560)อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คิดว่า ILB น่าสนใจไหมเอ่ย

All Blogs