Service Manager : Araya (0-2257-0357 ext. 555)
FAQ สำหรับผู้สนใจสอบเป็นผู้ค้าตราสารหนี้
คำถามเกี่ยวกับการสมัครสอบและทดสอบ
1. ช่วงเวลาการเปิดรับสมัครสอบ และรอบระยะเวลาการทำแบบทดสอบ
การรับสมัครทดสอบความรู้ผู้ค้าฯเปิดรับปีละ 4 ครั้ง (ไตรมาสละ 1 ครั้ง)
รอบการทดสอบจะแบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้
รอบเช้า
เวลา 9.00 -12.30 น.
รอบบ่าย
เวลา 13.00 -16.30 น.
* ผู้สมัครเลือกสอบเฉพาะรอบใดรอบหนึ่ง โดยแต่ละรอบมีการทดสอบทั้ง 2 หมวดให้เลือก
- ThaiBMA จะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบพร้อมรอบการทดสอบทาง website ของThaiBMA ก่อนสอบ (ล่วงหน้า 5 วันทำการ)
ข้อมูลประกอบ
ดู website : http://www.thaibma.or.th/registration_trader/registered.html
2. การสมัครสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ผ่านระบบ Online
ผู้สนใจสมัครสอบสามารถเข้าสมัครสอบผ่านหน้า website ThaiBMA ได้ https://www.thaibma.or.th/EN/Trader/Test3.aspx
3. ช่องทางการชำระเงินค่าสมัครสอบ
เมื่อผู้สมัครสอบชำระเงินค่าสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งใบ invoice ให้กับผู้สมัครสอบทาง email ที่ได้ลงสมัครสอบ โดยผู้สมัครสอบสามารถนำใบ Invoice ดังกล่าวไปชำระเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคารต่างๆ ได้ หรือจะ SCAN QR CODE ชำระเงิน
4. ช่องทางการชำระเงินค่าสมัครและขึ้นทะเบียน (e-Payment)
Image Image
ข้อมูลประกอบ
หมายเหตุ: สำหรับ SCBEASY กรณีต้องการเพิ่มข้อมูลผู้ให้บริการ (Biller) ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- เลือก เพิ่มรายชื่อผู้รับชำระ
- เลือกจากกลุ่มบัญชีผู้รับชำระ หรือค้นหาจากชื่อ, เลขที่บัญชีผู้รับชำระ
- เลือกบัญชีผู้รับชำระที่ต้องการ
- กดปุ่ม Add เพื่อบันทึกเข้าในบัญชีผู้ให้บริการ
ใส่ชื่อ-นามสกุลลูกค้า, หมายเลขบัตรประชาชน (Customer No./Ref.1), ใส่หมายเลขโทรศัพท์ (Reference No./Ref.2), ใส่จำนวนเงินที่ต้องการชำระ และกดปุ่ม Next
ระบบจะแสดงรายละเอียดการชำระเงิน กดปุ่ม Confirm เพื่อยืนยันการทำรายการ

การชำระค่าสินค้า โดยการโอนผ่านธนาคารแบบเดิม มีข้อเสียอย่างไร?
การชำระโดยการโอนผ่านธนาคารแบบเดิม มีจุดบกพร่องที่ไม่สามารถตรวจสอบผู้โอนได้ ผู้โอนต้องแจ้งยืนยันการชำระเงิน แสดงหลักฐานการโอน ทั้งการสแกน หรือแฟ็กซ์สลิป

การชำระค่าสินค้าผ่าน BILL PAYMENT ดีอย่างไร?
เมื่อเปลี่ยนมาใช้รูปแบบการชำระค่าสินค้าแบบ Bill Payment จะสามารถระบุตัวผู้โอนได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งยืนยันการชำระเงิน หรือส่งหลักฐานใดๆ สมาคมสามารถรับรู้การชำระค่าสินค้าได้รวดเร็ว
5. ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) สามารถติดต่อ/ให้คำแนะนำโดยตรงกับลูกค้า High network ได้เองเลยหรือไม่/ ต้องมี IC license หรือไม่
Bond Trader สามารถทำหน้าที่ติดต่อ/ให้คำแนะนำผู้ลงทุนสถาบันได้ โดยไม่ต้องมี IC license
ข้อมูลประกอบ
- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ.8/2557 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน 3 มิย. 2557
- ประกาศ สำนักงาน ก.ล.ต. ที่ ด.(ว) 5/2543 เรื่องหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าตราสารหนี้ 26 ธค. 2543
6. ผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ที่มี CFA และประสบการณ์ทำงานด้านค้าตราสารอนุพันธ์ (Derivative) 3 ปีต่อเนื่อง สามารถขอยกเว้นการสอบความรู้ด้านตราสารหนี้ได้หรือไม่
- ตามประกาศคณะกรรมการสมาคมฯ เรื่อง ผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน พ.ศ.2563 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 3 (ค) กำหนดว่า ผู้ผ่านการทดสอบความรู้หลักสูตร CISA / CFA ระดับ 1 โดยมีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า 2 ปีในช่วง 5 ปีก่อนยื่นคำขอ หรือหากผ่านหลักสูตร CISA/CFA ระดับ 3 สามารถยกเว้นการสอบหมวด 2 ความรู้ด้านตราสารหนี้ ได้ผู้สมัครสอบสามารถสอบเพียงหมวด 1 กฎระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้เท่านั้น
ข้อมูลประกอบ
- ประกาศคณะกรรมการสมาคมฯ เรื่องผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน ข้อ 3 (ค) ผู้ผ่านการทดสอบความรู้หลักสูตร CISA / CFA ระดับ 1 โดยมีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า 2 ปีในช่วง 5 ปีก่อนยื่นคำขอ และผ่านการทดสอบความรู้หมวดกฎระเบียบ
7. การสมัครสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) จำเป็นต้องสมัครสอบพร้อมกันทั้ง 2 หมวดหรือไม่
ในการสมัครสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ไม่จำเป็นต้องสมัครสอบพร้อมกันทั้ง 2 หมวด ผู้สมัครสอบสามารถแยกสอบเป็นหมวดๆ ได้ และหากสอบผ่านหมวดใดหมวดหนึ่งแล้วสามารถเก็บผลสอบ (ผ่าน) ไว้ได้ 1 ปี และสามารถสอบหมวดอื่นที่เหลือได้ โดยผู้สอบต้องสอบให้ผ่านทั้ง 2 หมวดภายใน 1 ปี
8. หากมี CISA / CFA แล้ว สามารถขอยกเว้นการสอบในหมวดใด ได้บ้าง
หากมี CISA / CFA Level 3 แล้ว ผู้สมัครสอบสามารถขอยกเว้นการสอบในหมวด 2 ความรู้เกี่ยวกับตราสาหนี้ ได้ แต่หากมี CISA / CFA Level 1 และประสงค์ขอยกเว้นไม่สอบหมวดหมวด 2 ความรู้เกี่ยวกับตราสาหนี้ ผู้สมัครสอบจะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านหลักทรัพย์ 2 ใน 5 ปีก่อนการยื่นสมัครสอบ
9. การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) หลังจากที่สอบผ่านครบ 2 หมวดแล้วต้องทำดำเนินการอย่างไรบ้าง
- การขึ้นทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้นั้น ผู้ที่สอบผ่านครบ 2 หมวด หรือผู้บริหารที่ใช้สิทธิ์ (โดยผ่านการทดสอบหมวด 1 กฎระเบียบฯ หรือเข้ารับการอบรมหลักสูตร Bond Regulatoly Update) สามารถ download แบบฟอร์มคำขอขึ้นทะเบียนได้จาก Website ThaiBMA และค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ 10,700 บาท (รวม VAT 7% แล้ว)
- หลังจากยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ออกเลขทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้ พร้อมหนังสือรับรองการเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน ประมาณ 3 วัน
10. สถานะของผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนบนหน้า website นั้นมีความ แตกต่างกันอย่างไร ระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิก และที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิก และที่ไม่ได้ระบุ ( - )
ผู้ค้าตราสารหนี้ที่สังกัดอยู่ในองค์กรของสมาชิกสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย จะต้องระบุสถานะจากองค์กรสมาชิก ว่าจะให้ผู้ค้าตราสารหนี้ท่านดังกล่าวทำหน้าที่กระทำธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้แทนองค์กรหรือไม่ หากองค์กรสมาชิกเห็นควรให้ผู้ค้าตราสารหนี้ท่านดังกล่าวมีหน้าที่ในการกระทำธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้ให้ดำเนินการแต่งตั้งการทำหน้าที่เข้ามาที่สมาคม แต่หากผู้ค้าตราสารหนี้ท่านดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสายงานด้านค้าตราสารหนี้ หรือไม่มีหน้าที่ในการทำการซื้อขายให้ระบุว่าไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำธุรกรรมแทนองค์กร สำหรับผู้ค้าตราสารหนี้ที่ไม่ได้ระบุสถานะ ( - ) คือผู้ค้าตราสารหนี้ที่สังกัดอยู่ในองค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรสมาชิกของสมาคม จึงไม่ต้องระบุสถานะแต่อย่างใด
11. หากผู้สมัครสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ผ่านการทดสอบครบหมดทุกหมวดแล้ว ต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ต่อ ThaiBMA ภายในกี่วัน และหากยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ไม่ทันสามารถผ่อนผันได้หรือไม่
ผู้สมัครสอบที่ผ่านการทดสอบครบทั้ง 2 หมวดแล้ว สามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ได้ ภายใน 2 ปีนับจากวันที่ผ่านการทดสอบครบทั้ง 2 หมวดแล้ว หากพ้นเวลาดังกล่าว ผลการทดสอบถือว่ายกเลิก
12. ถ้าจะใช้สิทธิ์ผู้บริหารในการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) กับ ThaiBMA ต้องทำอย่างไรบ้าง
ตามประกาศคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เรื่อง ผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน พ.ศ.2563 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 3 (ข) ระบุว่าเป็นผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งของสมาชิก ซึ่งทำหน้าที่ดูแลสายงาน ด้านการค้าตราสารหนี้ โดยผ่านการทดสอบความรู้ตามข้อ 18 (1) หรือผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้ด้านกฎระเบียบจรรยาบรรณตามที่สมาคมกำหนด ทั้งนี้ หากจะขอใช้สิทธิ์ดังกล่าวองค์กรสมาชิกต้องนำส่งจดหมายเพื่อแจ้งการใช้สิทธิผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสมาชิกเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ และนำส่งหนังสือรับรองการเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสมาชิกมายังสมาคม เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติดังกล่าวก่อน ซึ่งหากประสงค์เข้าอบรมหลักสูตรด้านกฎระเบียบจรรยาบรรณ สมาคมจะเปิดอบรมหลักสูตรดังกล่าวปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งผู้บริหารสามารถเข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวได้ หรือจะสมัครสอบในหมวด 1 กฎหมาย ข้อบังคับ จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเมื่ออบรมหลักสูตรดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมาคมจะออกหนังสือรับรองการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน ท่านสามารถนำสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าว (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) หรือหากผ่านการทดสอบหมวด 1 ผ่านก็ให้นำสำเนาผลการทดสอบดังกล่าว (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) พร้อมกับยื่นเอกสารเพื่อยื่นคำขอขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ได้
หมายเหตุ:
ใบอนุญาต Bond Trader ของผู้ใช้สิทธิ์ผู้บริหารนั้น เป็น ใบอนุญาตที่ไม่ติดตัว หากผู้บริหารท่านดังกล่าวย้ายสายงาน หรือลาออกจากองค์กรสมาชิก ใบอนุญาตดังกล่าวก็จะถูกถอดชื่อออกจากทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้ทันที
ข้อมูลประกอบ
- ประกาศคณะกรรมการสมาคมฯ เรื่องผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน ข้อ 3 (ข) โดยมี
รายละเอียดดังนี้ :
(ข) เป็นผู้บริหารระดับสูงซึ่งทำหน้าที่ดูแลสายงานด้านการค้าตราสารหนี้ โดยผ่านการทดสอบความรู้ตามข้อ 18 (1) หรือผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้ด้านกฎระเบียบจรรยาบรรณตามที่สมาคมกำหนด
13. การทดสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) นั้นผู้สมัครสอบสามารถทราบผลการทดสอบได้ทันทีหรือไม่
การทดสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ดำเนินการโดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งผู้สมัครสอบสามารถทราบผลการทดสอบได้ทันทีหลังจากที่ผู้สมัครสอบคลิกส่งข้อสอบในหมวดนั้นๆ โดยระบบจะประมวลผลการทดสอบและแจ้งผลการทดสอบดังกล่าวให้ผู้สอบทราบทันที
14. ThaiBMA มีการจัดอบรมความรู้เพื่อเตรียมตัว สำหรับการทดสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ก่อนหรือไม่
ThaiBMA ไม่มีการจัดอบรมความรู้เพื่อเตรียมตัว สำหรับการจัดทดสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) แต่ผู้สมัครสอบสามารถซื้อหนังสือสำหรับการทดสอบดังกล่าวได้ที่ ThiBMA โดยมีจำหน่าย 2 หมวดวิชาได้แก่ หมวด 1 กฎหมาย ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ ราคาเล่มละ 300 บาท และ หมวดที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับตราสารหนี้ (คำนวณ) ราคาเล่มละ 350 บาท(ชุดละ 650 บาท)
15. หากผู้สมัครสอบทดสอบในรอบเช้าไม่ผ่านบางหมวดวิชา สามารถขอทดสอบในหมวดวิชาที่ไม่ผ่านในรอบบ่ายได้เลยหรือไม่
หากผู้สมัครสอบทดสอบไม่ผ่านในบางหมวดวิชาในรอบเช้า จะขอทดสอบใหม่อีกครั้งในรอบบ่ายไม่ได้ ผู้สมัครจะต้องไปทดสอบในรอบถัดไปแทน ซึ่งสามารถตรวจสอบรอบการทดสอบได้จากใน website thaibma
16. การยื่นเอกสารสมัครสอบ
ในขั้นตอนการสมัครสอบผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) ผ่านระบบ Online ยังไม่ต้องยื่นเอกสารการสมัครสอบแต่อย่างใด เพียงแต่กรอกข้อมูลของผู้สอบผ่านระบบ Online ให้ถูกต้องครบถ้วน
17. การยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Trader) มีอะไรบ้าง
**กรณีผ่านการทดสอบ**
1. แบบฟอร์มคำขอขึ้นทะเบียน (download ได้จาก Website ThaiBMA)
2. จม. ผ่านการทดสอบ 2 หมวด
3. ผลการตรวจประวัติอาชญกรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4. ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียน 10,700 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
5. วุฒิการศึกษา / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย 2 รูป

**กรณีใช้สิทธิผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลสายงานด้านการค้าตราสารหนี้**
1. แบบฟอร์มคำขอขึ้นทะเบียน (download ได้จาก Website ThaiBMA)
2. จม. ผ่านการทดสอบหมวด 1 กฎหมาย ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ 1 ฉบับ หรือหลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้ด้านกฎระเบียบจรรยาบรรณตามที่สมาคมกำหนด
3. ผลการตรวจประวัติอาชญกรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4. ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียน 10,700 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
5. วุฒิการศึกษา / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย 2 รูป

**กรณีใช้สิทธิเป็นผู้ผ่านการทดสอบความรู้หลักสูตร CISA / CFA**
1. แบบฟอร์มคำขอขึ้นทะเบียน (download ได้จาก Website ThaiBMA)
2. จม. ผ่านการทดสอบหมวด 1 กฎระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ 1 ฉบับ
3. หลักฐานแสดงผลการผ่านหลักสูตรที่กำหนด
- กรณีผ่าน CISA / CFA ระดับ 1 ต้องมีหนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน
ด้านการลงทุนในหลักทรัพย์เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 2 ปีในช่วง 5 ปีก่อนยื่นคำขอ
- กรณีผ่าน CISA / CFA ระดับ 3 ไม่ต้องมีหนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน
4. ผลการตรวจประวัติอาชญกรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
5. ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียน 10,700 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
6. วุฒิการศึกษา / สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย 2 รูป

หมายเหตุ:
ผู้ผ่านการทดสอบสามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ได้ภายใน 2 ปี (นับจากวันที่ผ่านการทดสอบ)
** หมายถึง ต้องมีข้อมูลให้ครบ
18. หากไม่ได้เข้าอบรมเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ค้าตราสารหนี้ทุกช่วงระยะเวลา 2 ปี จะถูกถอดชื่อออกจากทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้เลยหรือไม่
ผู้ค้าตราสารหนี้ที่ใบอนุญาตหมดอายุในปีนั้น ต้องเข้ารับการอบรมตามรอบที่กำหนด มิฉะนั้น สถานะผู้ค้าตราสารหนี้จะถูกระงับ (Suspend) เป็นการชั่วคราว คือ ตั้งแต่ 1 มกราคม ในปีถัดไป จนถึงวันที่ผู้ค้าตราสารหนี้เข้ารับการอบรมในรอบปีถัดไป ซึ่งหากเข้าอบรมแล้ว ใบอนุญาต ก็จะ active อีกครั้ง (สามารถทำธุรกรรมต่อได้) แต่การต่ออายุใบอนุญาตที่ได้นั้นจะถูกต่อไปอีกแค่ 1 ปี และหากผู้ค้าตราสารหนี้ไม่ได้เข้าอบรมเลย ใบอนุญาตผู้ค้าตราสารหนี้ที่ถืออยู่ก็จะถูกถอดชื่อออกจากทะเบียนผู้ค้าตราสารหนี้ในที่สุด