Loading...

Glossary

A
Accrued Interest
ดอกเบี้ยสะสมที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ หรือที่เรียกกันว่า ดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งจะนับจากวันจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันส่งมอบตราสาร

Asian Bond Fund 2 (ABF2)
กองทุนพันธบัตรเอเชีย ระยะที่ 2จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของกลุ่มประเทศเอเชีย ทั้ง 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย

At-a-Discount
ราคาตราสารหนี้ที่มีมูลค่าน้อยกว่าราคาหน้าตั๋ว

At-a-Premium
ราคาตราสารหนี้ที่มีมูลค่ามากกว่าราคาหน้าตั๋ว

At-Par
ราคาตราสารหนี้เท่ากับราคาหน้าตั๋ว

Outstanding Amount
มูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

Amortizing Bond
ตราสารหนี้ที่ผู้ออกจะทยอยจ่ายคืนเงินต้นแก่ผู้ถือในแต่ละงวด โดยกำหนดจำนวนเงินและงวดที่จะชำระไว้ล่วงหน้าในหนังสือชี้ชวน แทนการจ่ายคืนเงินต้นครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดอายุ

AmericanAuction
เป็นระบบการประมูลพันธบัตรรัฐบาลที่ผู้ร่วมประมูลเสนออัตราผลตอบแทนและจำนวนที่ต้องการแก่ผู้ออก โดยผู้ออกจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้ร่วมประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนต่ำที่สุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้แก่ผู้ประมูลที่เสนออัตราผลตอบแทนสูงขึ้นไปตามลำดับจนครบวงเงิน

Ask Price (Offer price)
ราคาที่ Dealer ต้องการขายตราสารหนี้แต่ละรุ่น

All-Bond Index
เป็นดัชนีที่คํานวณจากตราสารหนี้ทั้งหมดในตลาดโดยอาจยกเว้นเฉพาะตราสารหนี้ที่มีลักษณะพิเศษบางประเภทเช่นตราสารหนี้ประเภทให้สิทธิ์ผู้ออกไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด หุ้นกู้แปลงสภาพ และตราสารหนี้ประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวเป็นต้นดัชนีชนิดนี้เหมาะสําหรับกองทุนต่างๆ ซึ่งลงทุนระยะยาวในตราสารหนี้หลากหลายประเภท ซึ่งบางตัวอาจไม่มีสภาพคล่อง
B
Basis Point (bp)
หน่วยย่อยของอัตราผลตอบแทน โดยที่ 1bp = 0.01%

Benchmark Bond
ตราสารหนี้ภาครัฐที่ใช้เป็นตราสารอ้างอิง

Bid Price
ราคาที่ Dealer ต้องการขายตราสารหนี้แต่ละรุ่น

Bid-Ask Spread
ค่าความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อสูงสุดและราคาเสนอขายต่ำสุด มีหน่วยเป็น bp (1% มีค่าเท่ากับ 100 bps.)

Bond Prospectus
หนังสือชี้ชวนการลงทุนในตราสารหนี้ จัดทำโดยผู้จัดจำหน่าย ซึ่งอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่ออก ประกอบด้วย ประวัติของบริษัท งบการเงิน ประวัติของผู้บริการ และข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทน เป็นต้น

Bondholder’s Representative
ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทำหน้าที่แทนผู้ถือหุ้นกู้ในการรับจำนอง รับจำนำ หรือรับหลักประกันอย่างอื่น และเพื่อการใช้สิทธิบังคับหลักประกัน รวมทั้งการตรวจสอบสถานะของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันการออกตราสารหนี้

Bond Index
เครื่องวัดมูลค่าตราสารหนี้โดยการเปรียบเทียบกับมูลค่าตลาดของตราสารหนี้ณ วันฐาน

Bilateral Repurchase Operations
การทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีเป็นการซื้อ (ปล่อยสภาพคล่อง) หรือขายพันธบัตร (ดูดสภาพคล่อง) โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืนในราคาที่ตกลงไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

Best Effort
การพยายามขายอย่างดีที่สุดคือการที่ผู้จัดจำหน่ายจะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการจัดจำหน่ายตราสารหนี้นั้น หากจำหน่ายไม่หมดก็ไม่ต้องรับซื้อไว้เอง

Bond Futures
สัญญาซื้อ/ขายล่วงหน้าโดยมีตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์อ้างอิงซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากตราสารดังกล่าวมีสภาพคล่องสูง และมีการกำหนดรูปแบบของตราสารที่เป็นมาตรฐาน เหมาะกับการนำมาใช้เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของสัญญาแบบ Futures มากกว่าตราสารหนี้ประเภทอื่น การทำสัญญา Bond Futures ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเปรียบเสมือนกับการกำหนดราคาล่วงหน้าของพันธบัตรรัฐบาลที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงไว้ ณ วันที่ทำสัญญา และทำการส่งมอบกันในอนาคต เมื่อถึงวันที่ครบกำหนดหากราคาของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นกว่าราคาที่กำหนดไว้ ทางฝั่งผู้ซื้อจะได้รับเงินส่วนต่างจากราคาที่ปรับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากราคาของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา ทางฝั่งผู้ขายก็จะได้รับเงินส่วนต่างจากราคาแทน

Broker
บริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์หมายถึงสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตทําธุรกรรมด้านนายหน้าค้าหลักทรัพย์จากสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

Broad-based Bond Index
ดัชนีประเภทนี้ใช้สําหรับติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้โดยรวมโดยคำนวณจากตราสารหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดในตลาดยกเว้นตราสารหนี้บางประเภทเช่นตราสารหนี้แฝงสิทธิ์ (Option-embedded Bond) และตราสารหนี้ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีเป็นต้น
C
Call Option
สัญญาแห่งสิทธิแก่นักลงทุนในการซื้อ หุ้น ตราสารหนี้ ฯลฯ ในราคาที่ตกลงกันไว้ ณ เวลาหนึ่ง

Call Price
ราคาที่ผู้ออกจ่ายคืนให้แก่นักลงทุน หากเรียกไถ่ถอนตราสารหนี้ก่อนกำหนด ซึ่งมักจะกำหนดให้เท่ากับราคาพาร์

Capital Inflow
กระแสเงินทุนไหลเข้าประเทศจากการซื้อทรัพย์สินโดยนักลงทุนต่างชาติ

Capital Outflow
กระแสเงินทุนไหลออกประเทศจากการขายทรัพย์สินโดยนักลงทุนต่างชาติ

Capital Gain
ผลกําไรจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อที่ต่ำกว่าราคาขาย

Capital Loss
ผลขาดทุนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อที่สูงกว่าราคาขาย

Chiang Mai Initiative (CMI)
ข้อริเริ่มเชียงใหม่เป็นข้อตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคี ระหว่างประเทศอาเซียน+3 จุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องระหว่างกันในกรณีที่ประสบปัญหาดุลชำระเงิน

Clean Price
ราคาตราสารหนี้ที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ อาจแสดงเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ได้

Collateral
หลักประกันหรือสิ่งที่ผู้กู้ใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ตามปกติผู้ให้กู้มีสิทธิยึดหลักประกันเงินกู้หรือดําเนินการอื่นใดตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืม เมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้

Coupon Rate
อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตราสารต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น ๆ ตามวันเดือน ปี ที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น

Coupon Frequency
งวดการจ่ายดอกเบี้ยเป็นการระบุจำนวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง 1 ครั้งต่อปี 2 ครั้งต่อปี 4 ครั้งต่อปี หรือทุก ๆ เดือน แล้วแต่ผู้ออกจะกำหนด

Covenants
สัญญาที่กำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ออกหุ้นกู้ต้องปฏิบัตรหรือห้ามปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อประโยชน์ของผู้ให้กู้โดยทั่วไปมักเกี่ยวกับการตกลงในระดับทุนหมุนเวียนอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระการห้ามจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญเกินอัตราที่กำหนดการต้องดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนไม่เกินอัตราที่กำหนดข้อสัญญาอาจรวมถึงการจำกัดด้านการบริหารของผู้ออก เช่นการห้ามรวมกิจการ เป็นต้น

Convertible Bond
หุ้นกู้แปลงสภาพหมายถึงหุ้นกู้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงสภาพจากการถือหุ้นกู้ไปเป็นการถือหุ้นสามัญตามอัตราราคา และเวลาที่กำหนด

Callable Bond
ตราสารหนี้ที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกคืนก่อนกำหนดหมายถึง ตราสารหนี้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ออกในการเรียกคืน (Call Option) หรือไถ่ถอนตราสารนั้นก่อนกำหนด

Credit Spread Risk
ความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างด้านเครดิต หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากค่าชดเชยความเสี่ยง หรือ Risk Premium มีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอันดับเครดิตที่ลดต่ำลง

Cross- Default
เงื่อนไขการผิดนัดไขว้ หมายความว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดกับเจ้าหนี้รายอื่นใด ให้ถือว่าเป็นการผิดนัดกับเจ้าหนี้รายนี้ด้วย

Company Rating
อันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรหรือบริษัท เป็นการประเมินความสามารถทางธุรกิจและการเงินรวมทั้งความพร้อมในการชําระหนี้โดยทั่วไปขององค์กรนั้น ๆ

Competitive Biding
การประมูลพันธบัตรแบบแข่งขันราคา ใช้สำหรับพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยผู้เข้าประมูลต้องระบุมูลค่าที่เสนอซื้อและอัตราผลตอบแทนในการเสนอประมูล

Common Price Auction
ระบบการประมูลแบบราคาเดียว ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายสามารถซื้อพันธบัตรได้ในราคาที่เท่ากันหมดโดยพิจารณาจัดสรรให้แก่ผู้ที่เสนออัตราผลตอบแทนต่ำที่สุด (ราคาสูงที่สุด) ก่อน จากนั้นจึงค่อยจัดสรรให้แก่ผู้ที่เสนออัตราผลตอบแทนสูงขึ้น (ราคาต่ำลง) ไปตามลำดับจนครบจำนวนวงเงินที่เปิดประมูลในแต่ละรุ่น

Credit Rating Agency
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทำหน้าที่ในการให้บริการจัดอันดับเครดิตหรือความเสี่ยงในการผิดนัดชำระของตราสารหนี้ (Issue Rating) และของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer Rating) อันดับเครดิตจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษร โดยเริ่มจากความน่าเชื่อถือระดับสูงสุดไปจนถึงระดับต่ำสุด โดยมากจะใช้ AAA แสดงระดับสูงสุดไปจนถึงต่ำสุดที่ D

Current Yield
เป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทนต่อปีของตราสาร จากดอกเบี้ยต่อปีเทียบกับราคาตลาดในปัจจุบัน โดยที่ Current yield จะมีค่ามากกว่าอัตราดอกเบี้ย ถ้าตราสารนั้นเป็นตราสารประเภท Discount และ Current Yield จะมีค่าน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ย ถ้าตราสารนั้นเป็นตราสารประเภท Premium

Capital Gainor Loss
กำไรจากส่วนต่างของราคาเป็นผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการขายตราสารหนี้ ในกรณีที่ผู้ลงทุนถือจนครบกำหนดไถ่ถอน ราคาขายจะเท่ากับราคาหน้าตั๋วซึ่งไม่มี Capital Gain or Loss ถ้าหากราคาขายมากกว่าราคาที่ผู้ลงทุนซื้อมา ผู้ลงทุนจะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain) แต่ถ้าหากราคาขายน้อยกว่าราคาซื้อ ผู้ลงทุนจะขาดทุนจากส่วนต่างของราคา (Capital Loss)

Concentration Risk
ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวคือความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของการที่เลือกสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือสินทรัพย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทคู่สัญญาหรือกลุ่มของบริษัทคู่สัญญารายใดรายหนึ่งมากจนเกินไป ดังนั้นควรจะมีการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความหลายหลายเพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน ยิ่งหากมีการกระจายการลงทุนมากเท่าไร Concentration risk ยิ่งน้อยลง

Covenants
เงื่อนไขที่ผู้ออกจะต้องปฏิบัติตาม หรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้เช่น การห้ามจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญเกินอัตราที่กําหนดเป็นต้น

Credit Rating Agencies
สถาบันจัดอันดับเครดิต คือสถาบันหรือบริษัทผู้ให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรและตราสารหนี้ในปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันประเภทนี้จัดตั้งขึ้นแล้ว คือ บริษัท ทริส เรทติ้ง จํากัด(TRIS Rating) และ บริษัท ฟิทซ์เรทติ้ง (ประเทศไทย) จํากัด (Fitch Ratings)

Cross Currency Swap
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Currency Swap คือ สัญญาแลกเปลี่ยนเงินต้นและดอกเบี้ยระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยสกุลเงินของผู้ซื้อ/ผู้ขายที่แลกเปลี่ยน ณ วันทำสัญญาจะเป็นคนละสกุลกันและมีมูลค่าเท่ากันเมื่อทำการแปลงจากเงินสกุลหนึ่งไปยังอีกสกุลหนึ่งด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันปัจจุบัน CCS ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนพร้อมกัน

Credit Linked Note
คือ ตราสารหนี้ที่มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนหรือเงินต้นอ้างอิงกับความสามารถในการชำระหนี้ของสินทรัพย์อ้างอิง

Customized Bond Index
เป็นดัชนีที่สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนระยะยาวของนักลงทุนแต่ละกลุ่มเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน

Clean Price Index
เป็นดัชนีที่ไม่นําเอาดอกเบี้ยค้างรับเข้ามารวมในการคํานวณ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีประเภทนี้ จึงมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคา และระยะเวลาที่เหลือก่อนวันไถ่ถอน (Times to Maturity) เท่านั้น
D
Default
ความไม่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดชำระ หรือความไม่สามารถทำตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่กำหนดในสัญญาเงินกู้ (Covenant)

Default Risk
ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหมายถึง ความเสี่ยงในการที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายCoupon หรือ ชำระคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือตามจำนวนหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

Dirty price
ราคาที่รวมดอกเบี้ยค้างรับหรือราคาส่งมอบคือจำนวนเงินที่ผู้ซื้อตราสารหนี้ชำระให้แก่ผู้ขายในวันชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์

Downgrade Risk
ความเสี่ยงในการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือหมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating Agency)

Dealer
ผู้ค้าตราสารหนี้ หมายถึง สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตค้าหลักทรัพย์หรือจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้โดยสถาบันการเงินที่จะขอรับใบอนุญาตนี้ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนด

Derivatives
ตราสารอนุพันธ์คือ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งมูลค่าของตราสารดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) สินทรัพย์อ้างอิงสามารถเป็นได้ทั้ง ราคาของหุ้นสามัญหรือตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ราคาทอง น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภคหรือสินทรัพย์อ้างอิงอื่นตามแต่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการตกลงกัน เมื่อเริ่มแรกนั้นตราสารอนุพันธ์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับบริหารความเสี่ยง แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันตราสารดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น

Duration
เป็นระยะเวลาการจ่ายคืนเงินเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินในแต่ละงวด หรือ อายุคงเหลือของตราสารหนี้นั้นๆ ที่ได้คำนึงถึงจำนวนเงินที่ตราสารนั้นจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนในแต่ละงวดด้วย ทำให้การพิจารณาความเสี่ยงเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น
E
Exchange Rate Risk
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการได้รับชำระ Coupon หรือเงินต้นเป็นเงินตราสกุลอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินของผู้ถือตราสารหนี้ ทำให้มีความเสี่ยงในการนำเงินสกุลที่ได้ไปแลกกลับเป็นเงินสกุลของตนได้น้อยลง เช่น ผู้ถือได้รับชำระ Coupon จำนวน 1ดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งในขณะที่ซื้อจะแลกได้ 40 บาท ปัจจุบันกลับแลกได้เพียง 32 บาท เมื่อคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาทแล้วจะได้อัตราผลตอบแทนที่ลดลง เป็นต้น

Event Risk
ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากสถานการณ์ต่างๆ ที่มีผลต่อการชำระ Coupon และเงินต้นของผู้ออกตราสารหนี้ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท

Equity Linked Note (ELN)
คือตราสารหนี้ที่มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนหรือเงินต้นในการชำระคืนอ้างอิงกับผลตอบแทนของหุ้นสามัญเพียงตัวเดียว กลุ่มของหุ้นสามัญหลายตัวรวมกัน หรืออาจเป็นดัชนีของตลาดหุ้นก็ได้ โครงสร้างของ ELN เปรียบเสมือนกับการนำตราสารหนี้แบบปกติที่ไม่มีสิทธิแฝงและไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Bond) มารวมกับสิทธิ์ในการซื้อหรือ Call Option บนสินทรัพย์อ้างอิงเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ ELN คือ ดอกเบี้ยของตราสารจะถูกจ่ายคืนพร้อมกับเงินต้นให้กับนักลงทุนในวันที่ทำการไถ่ถอน
F
Fixed Rate Bond
ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยคงที่ตามที่กำหนดและตามระยะเวลาของอายุตราสารหนี้

Floating Rate Bond / FRN
ตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัวหมายถึงตราสารหนี้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปรไปตามอัตราอ้างอิงหรือดัชนีที่กำหนดไว้เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงTHB Interest Rate Fixing (THBFIX)

FX Swap
ธุรกรรมสวอปเงินตราต่างประเทศเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการบริหารสภาพคล่องระยะสั้น-ปานกลาง โดยธุรกรรม FX Swap มีลักษณะคล้ายกับธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร แต่ต่างกันตรงที่เงินบาทถูกแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศไม่ใช่ตราสารหนี้ในประเทศ

Financial Advisor
ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ในการให้บริการแก่บริษัทมหาชนจำกัดเกี่ยวกับคำปรึกษาความเห็นและการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นกู้และประชาชนทั่วไป

Firm Commitment
การรับประกันการจัดจำหน่ายซึ่งผู้จัดจำหน่ายจะรับประกันการจัดจำหน่ายให้กับผู้ออกตราสาร โดยในกรณีที่จัดจำหน่ายตราสารไม่หมด ผู้จัดจำหน่ายต้องรับซื้อตราสารไว้เอง โดยทั่วไปการจำหน่ายตราสารในประเทศนิยมทำข้อตกลงด้วยวิธีการนี้

Forward Rate
อัตราดอกเบี้ยฟอร์เวิด คือ อัตราผลตอบแทนแบบ Spot Rate ณ เวลาหนึ่งเวลาใดในอนาคตเช่นอัตราผลตอบแทน 6 เดือน ในอีก 1 ปีข้างหน้าซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันล่วงหน้า และใช้ในการทำสัญญาฟอร์เวิดต่างๆ ที่มีกำหนดส่งมอบในอนาคต อาทิเช่น สัญญาอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้า (Forward Rate Agreement: FRAs) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

Foreign Bond
ตราสารหนี้ที่ออกเป็นเงินสกุลเดียวกันกับสกุลของประเทศที่ออกขาย แต่ออกโดยผู้ออกต่างประเทศ

Foreign Currency Denominated Bond
ตราสารหนี้ที่ออกขายเป็นเงินสกุลต่างประเทศ แต่ออกโดยผู้ออกในประเทศ

Futures/Forward
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคือ สัญญาในการซื้อ/ขายสินทรัพย์อ้างอิงที่มีการกำหนดราคาและวันสำหรับการส่งมอบสินทรัพย์ (Settlement Date)ไว้ล่วงหน้า และเมื่อถึงวันที่ครบกำหนดทางฝั่งผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินให้กับผู้ขายด้วยราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาและรับมอบสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว ในขณะที่ทางฝั่งผู้ขายมีหน้าที่หาสินทรัพย์อ้างอิงมาส่งมอบให้กับผู้ซื้อในวันที่ครบกำหนด การซื้อ/ขายสัญญาล่วงหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของความไม่แน่นอนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง (Price Risk) ได้
G
Guarantor Rating
อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ำประกันตราสารหนี้

Government Yield Curve
เส้นอัตราผลตอบแทนตามอายุคงเหลือของพันธบัตรรัฐบาล ณ จุดเวลาหนึ่งๆ

Gross Price Index
เป็นดัชนีที่นําเอาดอกเบี้ยค้างรับเข้ามารวมในการคำนวณร่วมกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีประเภทนี้ จึงมาจากองค์ประกอบ 3 ส่วน คือการเปลี่ยนแปลงของราคา เวลาที่เหลือก่อนวันไถ่ถอน และการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยค้างรับ ดัชนีประเภทนี้จะใช้ในการวัดอัตราผลตอบแทนของการลงทุน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงราคาและดอกเบี้ยค้างรับ
H
High Net Worth
นักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาท/ปี หรือมีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ตั้งแต่ 10 ล้านบาท หรือมีสินทรัพย์ตั้งแต่ 50 ล้านบาท (โดยไม่รวมถึงที่อยู่อาศัย) นิติบุคคล ที่มีส่วนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 ล้านบาท หรือเงินลงทุนในสินทรัพย์ตั้งแต่ 20 ล้านบาท (ตั้งแต่ 40 ล้านบาท ถ้ารวมเงินฝาก)

High Yield Bond
หุ้นกู้หรือตราสารหนี้ประเภทที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่า BBB- แต่ให้ผลตอบแทนที่สูง
I
Interest Rate Risk
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยหมายถึง ความเสี่ยงจากการที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ (Yield หรือ Yield to Maturity - YTM) ทำให้มูลค่าหรือราคาของตราสารหนี้ที่ถือไว้เปลี่ยนแปลงไป

Issue Name
ชื่อผู้ออกเป็นการระบุว่าใครเป็นผู้ออกตราสารหนี้นั้น หรือเป็นการระบุชื่อผู้กู้

Issue Rating
อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง

Information Risk
คือ ความเสี่ยงที่ข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้นั้น ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย หรือข้อมูลขาดความโปร่งใส

ISIN code(International Securities Identification Number : ISIN)
รหัสหลักทรัพย์สากล ที่ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้ในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดแรก และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ ธปท

Interest Rate Derivatives
อนุพันธ์ดอกเบี้ย คือ ตราสารอนุพันธ์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นอัตราดอกเบี้ยในตลาด เช่น LIBOR (London Interbank Offer Rate), SIBOR (Singapore Interbank Offer Rate),THBFIX (Thai Baht Interest Rate Fixing), BIBOR (Bangkok Interbank Offer Rate) หรืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นตามที่ผู้ซื้อและผู้ขายเจรจาตกลงกันตราสารอนุพันธ์ดังกล่าวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ดอกเบี้ยในตลาดมีความผันผวนซึ่งจะส่งผลให้สถานะการลงทุนเกิดความเสียหายได้

Interest Rate Swap
หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า Plain-Vanilla Swap คือ สัญญาแลกเปลี่ยนดอกเบี้ยระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยปกติแล้วเป็นการตกลงแลกเปลี่ยนระหว่างอัตราดอกเบี้ยคงที่กับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวบนเงินต้นอ้างอิงจำนวนหนึ่ง (Notional Amount) ภายในระยะเวลาที่กำหนด การแลกเปลี่ยนดอกเบี้ยของผู้ซื้อและผู้ขายจะเกิดขึ้นเป็นงวดตลอดอายุของตราสาร

Interest Rate Futures
คือ สัญญาซื้อ/ขายล่วงหน้าโดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็นสินทรัพย์อ้างอิงเช่นเดียวกับ FRA แต่อย่างไรก็ตามสัญญาดังกล่าวนี้เป็นแบบ Futures ทำให้สัญญาดังกล่าวถูกซื้อขายในตลาด Exchange การนำ IRF มาประยุกต์ใช้ในการบริหารความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ยหรือในการเก็งกำไรจะเหมือนกับ FRA สำหรับในประเทศไทย IRF ที่มีการซื้อ/ขายจะมีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเป็น THBFIX (อัตราดอกเบี้ย 6 เดือน) หรือ BIBOR (อัตราดอกเบี้ย 3 เดือน) ขนาดของสัญญาอยู่ที่ 10,000,000 บาท และมีอายุของสัญญา 3 เดือน โดยเดือนที่สิ้นสุดสัญญาคือ มีนาคมมิถุนายน กันยายน และธันวาคม

Investment Grade
ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตตั้งแต่BBBขึ้นไป

Issue term
อายุตราสารหนี้ที่ออกในวันเสนอขาย
L
Listed Companies
บริษัทจดทะเบียนคือบริษัทมหาชนจำกัดที่นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ mai

Liquidity Risk
ความเสี่ยงจากสภาพคล่องของตราสาร หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ถือตราสารหนี้ไม่สามารถขายตราสารหนี้ได้ในราคาที่ควรจะเป็น หรือในเวลาที่ต้องการ ส่งผลให้อัตราการเสนอซื้อและเสนอขายของตราสารหนี้มีส่วนต่างที่กว้าง (Bid – Ask Spread) ส่วนต่างของอัตราการเสนอซื้อและเสนอขายดังกล่าวนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการใช้วัดสภาพคล่องของตราสาร กล่าวคือ หากอัตราการเสนอซื้อและอัตราเสนอขายแตกต่างกันมาก หมายความว่า ตราสารหนี้ตัวนั้นมีสภาพคล่องต่ำ
M
Mark-to-Market
การปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ตามราคาตลาดล่าสุด

Maturity Date
วันครบกำหนดไถ่ถอน เป็นการกำหนดวันหมดอายุของตราสารหนี้ซึ่งผู้ออกจะต้องทำการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้กับผู้ถือ

Macaulay Duration
คือ อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ โดยถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินในแต่ละงวดที่ตราสารหนี้จะจ่ายให้จนครบอายุ

Mortgage Pass – Through (MPT)
เป็นประเภทของตราสารหนี้ MBS ตราสารประเภท MPT นั้นมีลักษณะของการชำระเงินต้น และดอกเบี้ยให้กับผู้ถือตราสารโดยตรงจากเงินของกลุ่มสินเชื่อที่ผ่อนชำระเงินกู้ และดอกเบี้ยให้กับ Originator ในแต่ละเดือน เนื่องจากเป็นการส่งผ่านเงินโดยตรงจากลูกหนี้สินเชื่อบ้านไปยังผู้ถือตราสารหนี้แบบ MPT ดังนั้นค่าธรรมเนียม หรือ Servicing Fee ที่ Servicer เรียกเก็บนั้น จะต้องน้อยกว่าตราสาร MPTB
N
Negative Pledge
ขอบข่ายและข้อบังคับที่จํากัดผู้ออกหุ้นกู้มิให้กระทําบางอย่างที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน

Non-Competitive Biding
การประมูลพันธบัตรแบบไม่แข่งขันราคาคือผู้ประสงค์จะเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่แข่งขันราคา ต้องยื่นความจำนงผ่านสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นคู่ค้าหลัก (Primary Dealers) โดยระบุราคาที่ขอซื้อไม่ต่ำกว่า 4 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท และไม่มีเศษของหลักล้าน

Non-Rated Bond
ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งตัวตราสารหนี้ ผู้ออกตราสารหนี้ และผู้ค้ำประกัน

Non-Registered bond
ตราสารหนี้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย

Nominal Yield
อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินคือ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนต่อปีโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าหน้าตั๋ว ซึ่งก็คืออัตราดอกเบี้ยหรือคูปองนั่นเอง
O
Over the Counter: OTC
การซื้อขายแบบไม่เป็นทางการคือการซื้อขายผ่านการเจรจาต่อรองกันทางโทรศัพท์ ไม่ได้กำหนดช่วงเวลาการติดต่อซื้อขายที่แน่นอนและไม่มีศูนย์กลางการจับคู่ซื้อขาย

Outright Transaction
การซื้อขายตราสารหนี้ที่เป็นการซื้อขายขาดไม่มีเงื่อนไขหรือข้อตกลงล่วงหน้าที่ต้องซื้อขายคืน

Open Market Operation
การดำเนินนโยบายทางการเงินผ่านทางตลาดการเงินซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ภาครัฐใช้สำหรับดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินให้อยู่ในสภาวะสมดุลและมีเสถียรภาพ
P
Par Value
มูลค่าตราสารหนี้ที่ตราไว้ต่อหน่วย หรือเรียกว่ามูลค่าพาร์โดยทั่วไปตราสารหนี้จะมีค่าหน่วยละ 1,000 บาท

Puttable Bond
ตราสารหนี้ที่ผู้ถือมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดหมายถึง ตราสารหนี้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการไถ่ถอนตราสารก่อนครบกำหนด (Put Option) โดยรายละเอียดของเงื่อนไขและวิธีการจะกำหนดล่วงหน้าตั้งแต่วันออกตราสารนั้นซึ่งผู้ออกสามารถเลือกที่จะไถ่ถอนหรือไม่ก็ได้

Prepayment Risk
ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนตราสารหนี้คืนก่อนกำหนดหมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ออกตราสารหนี้เรียกไถ่ถอนตราสารหนี้คืนก่อนกำหนด ทำให้ผู้ถือตราสารหนี้ไม่สามารถลงทุนได้ครบตามระยะเวลาการลงทุนที่คาดไว้

Primary Market
ตลาดแรกคือการซื้อขายที่ผู้ออกนำตราสารหนี้จำหน่ายให้กับนักลงทุนเป็นครั้งแรก

Primary Dealers
ผู้ค้าตราสารหนี้หลักหมายถึงสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าในการซื้อขายตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ช่วยทำให้การประมูลตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรกเป็นไปตามเป้าหมายและเพื่อทำหน้าที่เสริมสภาพคล่องในตลาดรองและดำเนินการให้มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพโดยธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ Primary Dealer จะต้องเสนออัตราผลตอบแทนรับซื้อขาย (Two-way Quote) สำหรับพันธบัตรรุ่นที่เป็น Benchmark ในตลาดรองให้ผู้ร่วมตลาดทราบอย่างต่อเนื่อง และจะต้อง Quote ในลักษณะ Firm Price ในภาวะตลาดปกติ

Private Placement
การที่บริษัทออกหุ้นกู้ขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่ผู้ซื้อรายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยเจาะจง

Prospectus
เอกสารที่บริษัทผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปต้องจัดทําขึ้น เพื่อเปิดเผยข้อมูลแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท และรายละเอียดของการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนั้น หนังสือชี้ชวนจะต้องแสดงข้อมูลลักษณะธุรกิจของบริษัท โครงการในอนาคต โครงสร้างการบริหารงาน ผู้บริหารบริษัท ข้อมูลทางการเงิน ผลประกอบการในอดีตและที่คาดการณ์ว่าจะเป็นไปใน อนาคต ประเภทของหุ้นกู้ที่เสนอขาย จํานวนหุ้นกู้มูลค่าที่ตราไว้ราคาพาร์อัตราดอกเบี้ย วันครบกําหนดไถ่ถอน และข้อมูลอื่นๆ

Public Offering
การที่ผู้ออกนําหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการและกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป การเสนอขายตราสารทุนหรือตราสารหนี้แก่ประชาชน จะต้องกระทําผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriters) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากก.ล.ต. และต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้
Q
Repurchase Agreement (repo)
การทำธุรกรรมซื้อคืนคือ การตกลงกันระหว่างผู้ขายหลักทรัพย์และผู้ซื้อหลักทรัพย์ โดย “ผู้ขายหลักทรัพย์” ตกลงที่จะขายหลักทรัพย์ให้กับ “ผู้ซื้อหลักทรัพย์” โดยมีสัญญาว่าจะซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวคืนกลับไปในอนาคตตามวันเวลาและราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า

Rate of Return
อัตราผลตอบแทนหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้จากการถือตราสาร โดยหากผู้ลงทุนถือตราสารดังกล่าวไปจนครบกำหนดอายุการไถ่ถอน อัตราผลตอบแทนดังกล่าวเรียกว่า อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ(Yield to Maturity: YTM)

Reinvestment Risk
ความเสี่ยงจากการนำเงินที่ได้จากตราสารหนี้ไปลงทุนต่อหมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการนำเงินที่ได้จากตราสารหนี้ที่ถือไว้ ไปทำการลงทุนต่อ ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าจะได้อัตราผลตอบแทนในขณะนั้นเป็นเท่าใด ความเสี่ยงตรงส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงหลังจากที่ซื้อตราสารหนี้มาถือไว้แล้ว

Registrar
นายทะเบียนหลักทรัพย์ทําหน้าที่รับฝาก ถอน โอนหลักทรัพย์และออกใบหลักทรัพย์
S
Scripless
ระบบที่ข้อมูลการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ถูกเก็บโดยศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แทนที่จะมีการออกใบหลักทรัพย์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะเป็นตัวกลางในการรับฝากใบหุ้นและจัดทํารายงานแสดงผู้ถือหุ้นแก่ผู้ถือหุ้น เพื่อง่ายต่อการซื้อขาย หรือโอนเปลี่ยนมือหุ้นและป้องกันไม่ให้ใบหุ้นสูญหาย

Securitization
ตราสารหนี้ที่เกิดจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หมายถึง ตราสารหนี้ที่เกิดจากกระบวนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์โดยผู้ถือจะได้รับกระแสเงินสดจากตัวสินทรัพย์ที่นำมาแปลงนั้นโดยปกติตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีอันดับความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีตัวหลักทรัพย์ที่นำมาแปลงนั้นค้ำประกันอยู่

Subordinated Bond
หุ้นกู้ด้อยสิทธิคือ ตราสารหนี้ที่ผู้ถือจะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ในอันดับหลังจากเจ้าหนี้บุริมสิทธิและเจ้าหนี้ทั่วไปในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารล้มละลาย หรือมีการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ

Senior Bond
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิคือ ผู้ถือตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆในการเรียกร้องสินทรัพย์ทดแทนและสูงกว่าผู้ถือตราสารหนี้ด้อยสิทธิผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ และผู้ถือหุ้นสามัญตามลำดับ

Self-Regulatory Organization : SRO
องค์กรกำกับดูแลตนเองเพื่อกำกับดูแลสมาชิกให้ประกอบธุรกรรมในตลาดตราสารหนี้อย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

Secondary Market
ตลาดรองคือ ตลาดที่มีการซื้อขายตราสารหนี้ระหว่างนักลงทุน เป็นตราสารหนี้ที่เคยออกขายมาแล้วในตลาดแรก

Standby Commitment
คือการที่ผู้ออกตราสารให้สิทธิจองซื้อแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ออกตราสารอาจทำข้อตกลงให้ผู้จัดจำหน่ายรับซื้อตราสารที่เหลืออยู่ เพราะไม่มีผู้ใช้สิทธิเพื่อไปขายต่อก็ได้

Special Purpose Vehicle: SPV
นิติบุคคลเฉพาะกิจคือผู้ที่รับซื้อสินทรัพย์จากเจ้าของเดิม (Originator) แล้วนำสินทรัพย์เหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกัน เป็นกองสินทรัพย์ (Pool) จากนั้นดำเนินการออกตราสารโดยมีกองสินทรัพย์ดังกล่าวค้ำประกันหรือหนุนหลังตราสารนั้นอยู่ซึ่งปกติมักจะใช้สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกระแสรายได้ในอนาคต (Future cash flow) ในการทำ Securitization ต่อมาเมื่อ SPV นำตราสารออกจำหน่ายให้แก่นักลงทุนทั่วไปแล้ว จึงได้นำเงินจากการออกตราสาร Securitization ไปชำระค่าซื้อสินทรัพย์จาก Originator ซึ่ง SPV จะเป็นผู้บริหารจัดการกองทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป

Swap
สัญญาสวอป คือ สัญญาในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยการแลกเปลี่ยนดังกล่าวอาจเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างกระแสเงินสดอัตราดอกเบี้ยคงที่กับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวบนเงินต้นอ้างอิง (Interest Rate Swap) เงินต้นและดอกเบี้ยระหว่างเงินสองสกุล (Cross Currency Swap)

Structured Note
ตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์แฝงคือ ตราสารหนี้ที่มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนหรือเงินต้นอ้างอิงกับสินทรัพย์อื่น เช่น ราคาหุ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือสินทรัพย์อ้างอิงอื่นตามที่ผู้ออกต้องการ ตราสารประเภทนี้เปรียบเสมือนกับการนำตราสารหนี้แบบปกติที่ไม่มีสิทธิแฝง (OptionFree Bond) มารวมกับอนุพันธ์ต่างๆเช่น Option หรือ Credit Derivative
T
Thai Overnight Repurchase Rate (THOR)
เป็นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนระยะข้ามคืนระหว่างธนาคาร (ลิงค์ http://www.thaibma.or.th/EN/Market/THOR.aspx)

Time to Maturity
อายุคงเหลือหมายถึง ระยะเวลาที่นับจากปัจจุบันถึงวันไถ่ถอนของตราสาร

Treasury Bill
ตั๋วเงินคลังที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกตั๋วเงินคลัง เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี

Total Return Yield
อัตราผลตอบแทนสุทธิ คำนวณได้จากผลรวมของผลตอบแทนซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับอันประกอบด้วย ดอกเบี้ย (Coupon) กำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain or Loss) และผลตอบแทนจากการนำดอกเบี้ยไปลงทุนต่อ (Interest on Interest)

Trustee
ทรัสตีคือ ผู้ดูแลสินทรัพย์ เป็นผู้รับฝากหลักทรัพย์ที่แปลงสภาพจากสินทรัพย์เดิมแล้ว จึงเป็นหลักประกันให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ว่า สินทรัพย์นั้นจะมีการจัดเก็บกระแสรายรับได้อย่างถูกต้อง และนำมาจ่ายคืนให้กับผู้ลงทุนตามสัญญา โดยเป็นตัวกลางระหว่าง Servicer และ นักลงทุนอีกทั้งยังเป็นตัวกลางระหว่าง Credit Enhancer และนักลงทุนอีกด้วย

Total Return Index
เป็นดัชนีที่นอกจากจะนําเอาดอกเบี้ยค้างรับเข้ามาในการคำนวณแล้วยังได้รวมเอาดอกเบี้ยจ่าย (Coupon Interest) ของพันธบัตรที่มีกําหนดชำระตรงกับวันที่คํานวณค่าดัชนีมาคํานวณด้วยดัชนีประเภทนี้เหมาะสมกับนักลงทุนที่นําเอาดอกเบี้ยที่ได้รับไปลงทุนต่อเช่นนักลงทุนในกลุ่มธุรกิจประกันภัยเป็นต้น
U
Underwriter
ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.มีหน้าที่หลักคือ เป็นผู้ดำเนินการในการนำตราสารหนี้ของผู้ออกตราสาร เสนอขายให้กับนักลงทุน รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการออกตราสารนั้น ๆโดยผู้จัดจำหน่ายจะรับหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ไปเสนอขายต่อประชาชนหรือเข้าร่วมประมูลหลักทรัพย์และนำออกเสนอขายต่อประชาชนในภายหลังในลักษณะของการเป็นช่องทางในการกระจายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนผู้จัดจำหน่ายจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการขาย
Y
Yield Curve
เส้นอัตราผลตอบแทนคือเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (YTM) กับอายุคงเหลือของตราสารหนี้ (Time to Maturity) โดยทุกๆ จุดบน Yield Curve จะแสดงอัตราผลตอบแทนตามอายุที่เหลือของตราสารหนี้

Yield to Maturity: YTM
อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุเป็นอัตราผลตอบแทนที่นิยมใช้ในตลาดมากที่สุด เป็นการคำนวณหาอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ได้รับจากตราสารหนี้เท่ากับราคาตลาดบวกกับดอกเบี้ยค้างรับ

Yield To Call
อัตราผลตอบแทนจากหุ้นกู้ประเภทไถ่คืนได้ก่อนกำหนด คืออัตราผลตอบแทนขึ้นอยู่กับวันที่หุ้นกู้ถูกไถ่ถอนคืน และไม่สามารถใช้อัตราผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตามปกติได้

Yield to Worst
อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้โดยมีสมมุติฐานว่า สถานการณ์หรือสิทธิแอบแฝงทุกอย่างที่จะทําให้ราคาตราสารหนี้ลดลงต่ำที่สุด
Z
Zero Rate Return (ZRR Index)
เป็นดัชนีวัดการลงทุนในตราสารหนี้อายุคงที่ที่ปราศจากความเสี่ยง เช่น ZRR 1 Year Index เป็นดัชนีวัดการลงทุนในตราสารหนี้ที่ไร้ความเสี่ยงที่มีอายุคงที่ที่ 1 ปี โดยวันฐานของดัชนีจะเริ่มต้นที่ 100 ในวันที่ 2 มกราคม 2545 ดัชนีนี้จะมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบพอร์ตการลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้โดยกำหนดอายุเฉลี่ยของพอร์ตลงทุนที่คงที่

Zero CouponBonds ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (coupon)
ในช่วงระหว่างอายุของตราสารหนี้นั้น โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไถ่ถอนเมื่อครบกําหนด