FAQ: คำถามเกี่ยวกับ Bondmart
ราคาในหน้าจอ Bondmart เป็นราคาเบื้องต้นที่สถาบันการเงินจะรับซื้อหรือขาย  โดยเป็นราคาอ้างอิงสำหรับการซื้อขายที่มูลค่าพันธบัตรขั้นต่ำ 1 ล้านบาท  ซึ่งหากท่านต้องการซื้อหรือขายในมูลค่าที่มากหรือน้อยกว่านี้   ราคาก็อาจเปลี่ยนแปลงได้
หากท่านไม่ต้องการรอจนครบกำหนดอายุ ท่านสามารถนำพันธบัตรหรือหุ้นกู้ไปเสนอขายที่สถาบันการเงิน หรือ สาขาของธนาคารต่างๆ ได้ ( คลิกที่นี่ เพื่อดูรายชื่อสถาบันการเงินที่รับซื้อขายในตลาดรอง)  อย่างไรก็ตาม ราคาขายอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากราคาต้นทุนที่ท่านซื้อมาได้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดขณะนั้นๆ
นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษี ในกรณีต่อไปนี้

1. ภาษีของดอกเบี้ยที่ได้รับ (coupon)  ได้แก่  

  • กรณีที่ถือไว้และได้รับดอกเบี้ยในแต่ละงวดของพันธบัตรหรือหุ้นกู้  นักลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ 
  • กรณีซื้อตั๋วเงินคลังหรือตราสารหนี้ระยะสั้นในราคาส่วนลด  จะต้องเสียภาษี 15% ของส่วนต่างระหว่างราคาพาร์ของตราสาร กับ ราคาที่ซื้อ  เช่น ตั๋วเงินคลังมีราคาพาร์ 1,000 บาทต่อหน่วย นักลงทุนซื้อจำนวน 1,000 หน่วย ในราคา 990,000 บาท จะต้องเสียภาษี 15% ของ 10,000 บาท คือ 1.500 บาท
2. ภาษีจาก Capital gain ได้แก่   กรณีนำพันธบัตรหรือหุ้นกู้มาขาย ในราคาที่สูงกว่าราคาต้นทุนที่ได้มา  จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของกำไร เช่น  ซื้อมาครั้งแรกในราคา 100,000 บาท  ต่อมาขายได้ในราคา 110,000 บาท  จะต้องเสียภาษี 15% ของ 10,000 บาท  คือ 1,500 บาท

  1. การเสนอขายแบบ PO (Public Offering) คือ การเสนอขายตราสารหนี้แก่บุคคลทั่วไปซึ่งรวมถึงผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา  โดยตราสารหนี้ที่เสนอขายแบบนี้จะต้องมีการจัดอันดับความน่าเชือถือ (Rating)

  2. การเสนอขายแบบ PP (Private placement) คือ การเสนอขายในวงจำกัด เช่น เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่เท่านั้น  ( ปัจจุบัน กลต. กำหนดว่านักลงทุนรายใหญ่ ได้แก่ นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์200 ล้านบาทขึ้นไป  หรือ บุคคลธรรมดาที่มีสินทรัพย์ 40 ล้านบาทขึ้นไป)   ตราสารหนี้ที่เสนอขายแบบนี้  นักลงทุนบุคคลธรรมดาจะไม่สามารถซื้อได้

สามารถทำได้โดยการฝากประมูลผ่านสถาบันการเงินผู้ค้าตราสารหนี้   ซึ่งจะรวบรวมความต้องการซื้อของนักลงทุนและเสนอราคาไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยในวันเปิดประมูลพันธบัตร   โดย ธปท. จะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้ค้าตราสารหนี้เรียงลำดับตามราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุด  (สูงที่สุด)  แต่อย่างไรก็ตาม  การฝากประมูลอาจมีความไม่แน่นอนว่านักลงทุนจะได้พันธบัตรหรือไม่ (ขึ้นอยู่กับราคาที่เสนอว่าดีพอที่จะได้รับการจัดสรรหรือไม่)     
นอกจากนั้น สถาบันการเงินมักกำหนดวงเงินขั้นต่ำในการรับฝากประมูลไว้ค่อนข้างสูง  เช่น 10 ล้านบาทขึ้นไป  การฝากประมูลจึงอาจไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนรายย่อย

โดยทั่วไป หากนักลงทุนต้องการขายหุ้นกู้ที่เป็นแบบมีใบหุ้น (scrip) จะต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่าหุ้นกู้แบบไร้ใบหุ้น  โดยอาจไม่ได้รับชำระเงินทันที    เนื่องจากสถาบันการเงินผู้ค้าตราสารหนี้ต้องนำไปสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่นายทะเบียนก่อนซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน